10 หนังสือสนพ.สมมติ แนะนำโดยเพจ KOROK

Last updated: 13 ก.พ. 2565  |  1611 จำนวนผู้เข้าชม  | 

10 หนังสือสนพ.สมมติ แนะนำโดยเพจ KOROK

เพจ KOROK เปิดลิสต์หนังสือแนะนำของสนพ.สมมติ ทั้งหมด 10 (+1) เล่ม

10 หนังสือน่าสนใจจากสำนักพิมพ์สมมติ

1. 1984 (George Orwell, 1949)
2. The Overcoat (Nikolai Gogol, 1842)
3. Bartleby, the Scrivener (Herman Melville, 1853)
4. Rashomon and Other Stories (Ryūnosuke Akutagawa,1915)
5. The Zürau Aphorisms (Franz Kafka, 1931)
6. บทสำรวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมชี่ (วัชรพล พุทธรักษา, 2014)
7. คนแคระ (วิภาส ศรีทอง, 2014)
8. ฟ้าบ่กั้น (ลาว คำหอม, 2020)
9. อาณาเขต (นิธิ นิธิวีรกุล, 2021)
10. ผู้คนในโลกภาพฝัน (อดิศร ไพรวัฒนานุวัฒน์, 2019)
11. ซาฮาโตโพล์ค (Zahatopolk)



จากที่ได้ไปเยือน The Alphabet BookCafe BKK มาแล้ว พบว่ามีหนังสือของ สำนักพิมพ์สมมติน่าสนใจหลายเล่ม มีทั้งเล่มที่แอดอ่านแล้ว และกำลังจะอ่าน เลยขอเลือก 10 เล่มที่น่าสนใจ มาแนะนำกันนะครับ
==================



1. 1984 (George Orwell, 1949)

เป็นเรื่องแรกที่ทำให้ผมรู้จักกับสำนักพิมพ์ กับผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของ George Orwell ด้วยเรื่องราวโลกดิสโทเปียเสียดสีสังคมเผด็จการ ทำให้เห็นความน่าสะพรึงกลัวของระบอบที่สอดส่องประชาชนทั้งพฤติกรรม การกระทำ หรือแม้กระทั่งควบคุมความคิด!
===



2. The Overcoat (Nikolai Gogol, 1842)

1 ในเรื่องสั้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ Nikolai Gogol นักเขียนเรื่องสั้นผู้เป็นเสาหลักของวรรณกรรมรัสเซีย ด้วยเรื่องราวเสมียนธรรมดาที่ประสบเคราะห์ร้ายจนสูญเสียทุกอย่าง มาเสียดสีสังคมทั้งราชการ ทุนนิยม และสะท้อนภาพความอยุติธรรมในสังคมได้อย่างแหลมคม
===



3. Bartleby, the Scrivener (Herman Melville, 1853)

"ผมไม่ประสงค์จะทำ" วลีสำคัญของเรื่องที่สะท้อนแนวคิดของ Bartleby "ชายผู้ปฏิเสธที่จะทำในสิ่งที่เขาไม่ต้องการจะทำ" โดยไม่แยแสสิ่งใดทั้งสิ้น เรื่องราวของชายแปลกแยกคนนี้ทำให้เห็นภาพจำลองของโลกผ่านเรื่องราวของเขากับความสัมพันธ์ที่ย้อนแย้งกับเจ้านายของเขาเอง
===



4. Rashomon and other stories (Ryunosuke Akutagawa,1915)

ความน่าสนใจของ "ป่าละเมาะ" 1 ในเรื่องสั้นของเล่มนี้ คือ การเอาเหตุการณ์เดียวกันมาเล่าผ่านตัวละครแต่ละตัว แต่กลับได้เรื่องราวที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องสั้นที่มีเอกลักษณ์และถูกตีความได้หลากหลาย นอกจากนั้นเรื่องอื่นๆของ Akutagawa ก็นำเอาความเป็นญี่ปุ่นมาผสมผสานกับสไตล์ตะวันตกได้กลมกล่อมน่าค้นหา
===



5. The Zürau Aphorisms (Franz Kafka, 1931)

เล่มนี้เป็นบันทึกปรัชญาเพียงเล่มเดียวของ Franz Kafka นักเขียนวรรณกรรมผู้มีผลงานสำคัญอย่าง The Trial, The Metamorphosis ที่สะท้อนแนวคิดเขาอย่างลึกซึ้งต่อความเชื่อ ความหวัง บาป หนทางพ้นทุกข์ ชวนให้ครุ่นคิดถึงความหมายของชีวิต
===



6. บทสำรวจความคิดทางการเมืองของอันโตนิโอ กรัมชี (วัชรพล พุทธรักษา, 2014)

ทฤษฎีการครองอำนาจนำ (Hegemony) ของ Gramsci นักทฤษฎีมาร์กซิสต์ชาวอิตาลีนั้นเป็นทฤษฎีที่ถูกนำมาใช้วิพากษ์ปรากฎการณ์ทางการเมืองทั้งไทยและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง และงานชิ้นนี้ของ วัชรพล ถือเป็นผลงานภาษาไทยที่สรุปความคิดทางการเมืองของ Gramsci ได้ครอบคลุมและกว้างขวาง
===



7. คนแคระ (วิภาส ศรีทอง, 2014)

นวนิยายไทยรางวัลซีไรท์ปี 2014 ของ วิภาส ศรีทอง ที่มีเนื้อเรื่องน่าสนใจ แปลก และมีแง่มุมให้ตีความหลากหลาย เป็นเรื่องราวว่าด้วยคนสามคนที่จับคนแคระไปกักขังเพื่อค้นหาคำตอบอะไรบางอย่างามรู้สึกเหมือนกำลังทบทวนทฤษฎีบททางคณิตศาสตร์ เหตุนี้คนที่ไม่รักก็อาจจะเกลียดไปเลย”
===



8. ฟ้าบ่กั้น (ลาว คำหอม, 2020)

รวมเรื่องสั้นผลงานของ ลาว คำหอม ที่สะท้อนความลำบาก คับแค้น ชายของของสังคมไทย สะท้อนความเจ็บปวดของชนชั้นล่างผู้ถูกกระทำราวกับกระจกที่ส่องสะท้อนสังคมผ่านแนวระนาบด้วยภาษาที่จริงจัง ตรงไปตรงมา แต่ก็เปี่ยมด้วยความงดงาม
===



9. อาณาเขต (นิธิ นิธิวีรกุล, 2021)

1 ในนวนิยายเข้าชิงรางวัลซีไรต์ในปีนี้ เป็นเรื่องราวสะท้อนตัวตนของผู้เขียน วงการ และวิพากษ์สังคมปัจจุบันด้วยเรื่องราวที่ชวนติดตาม เป็นเรื่องราวของ "กาฬโรค" ที่กลับมาระบาดอีกครั้งอย่างไม่รู้ที่มาที่ไป เรื่องราวได้นำพาผู้อ่านไปพบกับ “อัณณ์ คณัสนันท์” ชายปริศนาที่เหมือนจะเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ดังกล่าว
===



10. ผู้คนในโลกภาพฝัน (อดิศร ไพรวัฒนานุวัฒน์, 2019)

รวมเรื่องสั้น 13 เรื่องที่ไม่ได้ต่อเนื่องกัน แต่เชื่อมโยงเรื่องราวผ่าน "กล่องภาพฝัน" เครื่องมือที่จะทำให้ผู้ใช้ได้ฉายภาพความคิดของผู้ใช้ ความน่าสนใจจึงอยู่ที่เรื่องราวของแต่ละคนที่ผสมปนเปกันไประหว่างภาพจริงและภาพฝัน และนั่นอาจจะเป็น New Normal ที่อาจจะเกิดขึ้นจริงๆในเร็ววันได้เสียด้วย
===

พิเศษอีกหนึ่งเล่ม



11. ซาฮาโตโพล์ค (Zahatopolk)

ประเด็นน่าสนใจของเรื่อง หนึ่งคือการสร้างโลกดิสโธเปียที่ใช้ "ลัทธิ", "ความเชื่อ", "วัฒนธรรม" ที่ผู้คนปกติธรรมดาใช้ชีวิตอยู่กับความเชื่อ ความคิดที่ไม่ปกติ ทั้งลดทอนความเป็นมนุษย์ กดขี่ผู้อื่น ราวกับเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่มีความคิดจะตั้งคำถาม ได้แต่ยกย่อง สรรเสริฐ เทิดทูนกันสืบต่อไปเรื่อยๆ

เนื้อเรื่อง Zahatopolk ไม่ได้ซับซ้อน แต่มีความแหลมคมเชิงอุดมการณ์ที่ได้ถ่ายทอดมุมมองผู้เขียนได้ลงตัว ชวนให้ผู้อ่านได้ตั้งคำถามกับอำนาจที่ครอบงำผู้คนว่าทำไมอำนาจถึงดำรงอยู่ได้ทั้งที่กดขี่เสรีภาพและความเป็นมนุษย์ของผู้คน และชวนให้สงสัยว่าคนพวกนี้มันเป็นบ้าอะไรของมัน

ที่มา

https://www.facebook.com/106159621603598/posts/230855529134006/
https://www.facebook.com/korokbook/posts/275554977997394
==========

พบกับหนังสือทุกเล่มเหล่านี้ได้ที่ • สมมติ Book Café •

เปิดพฤหัสฯ - จันทร์ 10.00 - 20.00 | ใกล้ Paseo / สมาคมชาวปักษ์ใต้ ถ.กาญจนาภิเษก

Google Maps
https://goo.gl/maps/NapQ2mpku3Nv9s8i9 


ด้วยความเชื่อพื้นฐานของพวกเรา ว่าการอ่านและหนังสือ เป็นเรื่องเดียวกันกับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน — ต้องการทั้งความเงียบสงบให้ความคิดได้โลดแล่น พร้อมๆ กับการถกเถียงแลกเปลี่ยนในระดับความดังที่จะไม่รบกวนต่อผู้คนรอบข้าง


—• สมมติ Book Café •— จึงถูกออกแบบด้วยกรอบคิดเรื่องการแบ่งพื้นที่ระหว่าง ‘พวกเรากันเอง’ กับ ‘ผู้คนที่เข้ามาใช้บริการ’

และ ‘ระหว่างผู้คนที่เข้ามาใช้พื้นที่ด้วยกันเอง’

‘Space’ ที่ดูเหมือนเปิดโล่ง กลับถูกกั้นและแบ่งโซนอย่างชัดเจน ทั้งพื้นที่ภายในอาคาร-พื้นที่ภายนอกใต้ชายคา-และพื้นที่ภายนอกสุด ทั้งสามโซนมีจุดเชื่อมกันตรง courtyard เล็กๆ ที่มีต้นเสม็ดแดงเป็นแกนกลาง รวมทั้งเป็น buffer zone ระหว่างออฟฟิศสำนักงานกับคาเฟ่



พื้นที่ส่วนตัวเกิดซ้อนทับกับพื้นที่ส่วนรวม ผสมกลมกลืนไม่แยกขาด พอๆ กับไม่รวมเป็นพื้นที่เดียวกัน

ด้วยแนวคิดพื้นฐานในการออกแบบเช่นนี้ เราจึงได้พื้นที่ส่วนรวมโดยไม่ละเลยความเป็นส่วนตัว




—• สมมติ Book Café •— เป็นพื้นที่เฉพาะในแนวทางที่ชัดเจนของสำนักพิมพ์สมมติ แม้มันจะไม่หวือหวา ไม่ชิค ไม่คูล และไม่อะไรอีกหลายอย่างตามคาเฟ่สมัยนิยม

แต่มันเป็นพื้นที่เฉพาะที่พร้อมเปิดต้อนรับทุกคนที่ชื่นชอบวรรณกรรมและบรรยากาศของการดื่มกาแฟ

—• สมมติ Book Café •— คงเป็นเหมือนที่ เคท โชแปง (Kate Chopin) เขียนไว้ใน The Awakening วรรณกรรมเล่มสำคัญของเธอว่า

❝...มันเป็นสถานที่ที่เล็กและธรรมดาเกินไปสำหรับคนในแวดวงสังคมชั้นสูง และก็เงียบเกินไปสำหรับผู้ที่โปรดปรานแสงสีและเสียงอึกทึกแห่งอารยธรรมสมัยใหม่...❞


Project: The Alphabet Book Café
Architect: Twist Kongpila
Landscape & Interior: SM Studio
Contractor: MR.Korn
Inspired by All dear Readers

Follow Us
Instagram : @alphabetbookcafe.bkk
Line@ : Alphabet BookCafé 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้