เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (Ernest Hemingway)

Last updated: 21 ก.ค. 2563  |  6190 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (Ernest Hemingway)

"นักเขียนควรจะเขียนอยู่ตลอดเวลา...เหมือนกับว่าถ้าเขียนจบเมื่อใด ก็จะตายลงเมื่อนั้น"

เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (Ernest Hemingway) | ผู้เขียน บาย-ไลน์ (By-Line) สารคดียี่สิบเก้าชิ้นแรก แบบฝึกหัดทางวรรณกรรมของนักเขียนหนุ่ม นี่คือวัตถุดิบชั้นดีที่จะกลายสภาพเป็นงานวรรณกรรมชั้นเลิศ แปลและเรียบเรียงโดยอัศวินทางวรรณกรรม แดนอรัญ แสงทอง

เลขาธิการประจำบัณฑิตสถานแห่งสวีเดนกล่าวว่า งานเขียนของเฮมิงเวย์แสดงให้เห็นการทนทุกข์ทรมานอย่างกล้าหาญและน่าเห็นใจ หมายความว่าเขารู้ใจชีวิตดี "เฮมิงเวย์รักความผจญภัยและอันตราย เป็นคนมีนิสัยนิยมคนประเภทที่ได้ต่อสู้มาแล้วกับชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งถูกเงาของความรุนแรงและความตายพาดบังอยู่"

กฎเกณฑ์ของสังคมช่างโหดร้ายและหยาบกระด้าง ที่สุดท้ายผู้คนก็เพียงอิงอาศัยกันเพียงชั่วครู่ชั่วยาม และไม่ไยดีกันอย่างแท้จริง นี่คือสิ่งที่เฮมิงเวย์เห็นและเผชิญมาจากชีวิตที่โลดโผนตรากตรำ สาระสำคัญที่ปรากฏชัดในงานเขียนของเขาก็คือ 'ความกล้าหาญ' ดังจะเห็นได้จากตัวละครที่มีต้องมีความเข้มเแข็งและอดทนต่อชะตากรรม ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต

ในความเห็นของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล องค์ประกอบในงานเขียนของเฮมิงเวย์ชำแหละออกมาได้ 2 ประการ คือ 1. ซื่อสัตย์ต่อข้อเท็จจริง - ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ในเมื่อโลกเป็นเช่นนั้น เขาก็ไม่อยากให้ตนเองมีส่วนในการผัดหน้าทาแป้งให้กับมันทั้งสิ้น 2. มีลักษณะมนุษยนิยมมสูง - งานของเขายืนเคียงข้างคนทุกประเภท โดยไม่สนใจว่าผู้คนเหล่านั้นจะสังกัดชนชั้นใด

ด้วยเหตุที่เฮมิงเวย์เคยทำงานเป็น 'นักหนังสือพิมพ์' เขาจึงต้องออกเดินทาง ใช้ชีวิตลำพัง ซอกแซกหาข่าว สืบค้นแหล่งข่าว จนได้เรียนรู้ถึง ‘ความชั่วร้ายสารพัดอย่างที่มนุษย์ทำลงไป’ เขาถูกฝึกให้เขียนอย่างตรงไปตรงมา กระชับ และชัดเจน นี่คือบทเรียนแรกในการเขียนของเฮมิงเวย์ นอกจากจะมีพรสวรรค์ของนักข่าวอย่างเต็มเปี่ยมที่จะเขียนเฉพาะข้อเท็จจริงเท่านั้น เขายังเป็นนักเขียนที่เก่งกาจและแม่นยำในสิ่งที่เขาเล่า

บาย-ไลน์ (By-Line) เป็นงานเขียนยี่สิบเก้าชิ้นที่เฮมิงเวย์เขียนในช่วงอายุไม่เกินยี่สิบห้า เรียกได้ว่าเป็นงานเขียนของหนุ่มกระเตาะ เป็นงานเขียนของ ‘เด็กปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม’ มันมีลักษณะของความเป็นแบบฝึกทางวรรณกรรม แต่มันก็ช่างเป็นการงานที่ส่อวี่แววชัดเจนกระจ่างถึงอนาคตของคนผู้ได้กระทำมันขึ้นมาว่าเขาจะกลายเป็นนักเขียนคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่เขามีชีวิตอยู่



วัตถุดิบใน บาย-ไลน์ นี้ เฮมิงเวย์ได้เอามันไปแปรสภาพให้มันเป็นงานวรรณกรรมเข้าจริงๆ อย่างหน้าตาเฉย มันแปลงไปเป็นนิยายเรื่อง The Sun Also Rises และ A Farewell to Arms และกลายเป็นสารคดีเล่มเขื่องอย่าง Death in the Afternoon

ซินแคลร์ ลูอิส (Sinclair Lewis) นักเขียนอเมริกันคนแรกที่ได้รางวัลโนเบลชื่นชม 'นักเขียน 2 คน' ว่า สร้างงานที่มีพลังรุนแรง และเป็นงานเขียนที่ดีอย่างแท้จริง จนถึงขนาดที่ลูอิสเสียใจที่ตนเองแก่เกินกว่าที่จะทำอย่างเขาได้ หนึ่งในนั้นคือ วิลเลียม โฟล์คเนอร์ ส่วนอีกคนหนึ่งคือ เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์
-----------------------

สนใจคลิกสั่งซื้อ วรรณกรรมในวงเล็บครบชุด

ราคาพิเศษสุด!!!




Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้