WRITER ถึง Underground Buleteen และ 'วาระสมมติ' พื้นที่แห่งการวิจารณ์

Last updated: 30 พ.ค. 2563  |  2830 จำนวนผู้เข้าชม  | 

WRITER ถึง Underground Buleteen และ 'วาระสมมติ' พื้นที่แห่งการวิจารณ์

พื้นที่แห่งการวิจารณ์: จากนิตยสาร 'WRITER' ถึง 'Underground Buleteen' และการกลับมาของ 'วาระสมมติ'

เมื่อลองมองไปรอบๆ วงการวรรณกรรมเพื่อหาพื้นที่สื่อสำหรับการวิจารณ์ จะเห็นได้ว่ามีสื่อจำนวนน้อยมากที่ผลิตเนื้อหาในด้านการวิจารณ์โดยเฉพาะในแบบที่ไม่ใช่การแทรกตัวอยู่ตามคอลัมน์เล็กๆ ในหน้านิตยสาร หนังสือพิมพ์ - หรือทุกวันนี้คือบทความสั้นๆ ในคอลัมน์หนึ่งของสื่อออนไลน์ที่มีจำนวนผู้อ่านไม่มากนัก

ในอดีต เราเคยมี 'โลกหนังสือ' 'ถนนหนังสือ' แต่สื่อเท่าที่ปัจจุบันยังพอหาซื้อได้ตามร้านหนังสือออนไลน์ ร้านหนังสือเก่า กระทั่งบางห้องสมุด หรือตาม Page Facebook ของหัววารสารนั้น ซึ่งหาได้คงเหลือเพียงไม่กี่เจ้า อาทิ วารสาร 'อ่าน' 'Underground Buleteen' และ 'Writer' (ซึ่งสองวารสารหลังสุดนี้ 'พัก' และ 'ปิดตัว' ไปแล้ว) 

นี้เอง จึงอาจเป็นเหตุผลของการเกิดขึ้นและกลับมาของ วาระสมมติ หรือที่ใช้ชื่ออย่างตรงไปตรงมาว่า 'Hidden Agenda'

 


จริงอยู่ที่ปัจจุบัน โลกโซเชียลมีเดียเปิดโอกาสให้ใครก็ตามสามารถเขียนถึงอะไรก็ได้ตามแต่สะดวก มีเพจ มีบล็อก หลากหลายช่องทาง เพื่อแสดงความคิดเห็นอยู่มากมาย แต่ในฐานะ 'สื่อกระดาษ' ที่ต้องการการบริหารจัดการและลงทุน ยุคนี้ต่อให้เป็นนิตยสารธรรมดาก็ยากแล้ว การจะพิมพ์เนื้อหาสาระทาง วรรณกรรม ยิ่งยากกว่า!

นิตยสารหลายหัวที่เคยตีพิมพ์สาระทางวรรณกรรมล้วนทยอยล้มหายตายจากไปตามยุคสมัย ตั้งแต่นิตยสาร WRITER ที่เปลี่ยนยุคสมัยเปลี่ยนบรรณาธิการเป็นช่วงๆ จนกระทั่งยุติการดำเนินงานอย่างถาวรในปี 2558 เกิดวารสาร “อ่าน” ที่มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งวรรณกรรมและศิลปะแขนงอื่นๆ โดยมีจุดแข็งที่ประเด็นทางสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ โดยนักวิชาการหรือนักคิดนักเขียนที่มีคุณภาพ แต่ชะลอการดำเนินงานออกเล่มใหม่มาตั้งแต่ปี 2559 กลายเป็นบทความออนไลน์

ส่วน 'Underground Buleteen' หรือ 'วารสารหนังสือใต้ดิน' โดย วาด รวี เป็นเสมือนพื้นที่กึ่งกลางระหว่างนิตยสาร 'open' 'โลกหนังสือ' 'ช่อการะเกด' และนิตยสารอื่นๆ ในยุคนั้น ที่มีสัดส่วนเรื่องทางวรรณกรรมเป็นหลัก ซึ่งเอกลักษณ์หนึ่งคือมีพื้นที่สำหรับเรื่องสั้นและบทกวี มีทั้งนักเขียนรับเชิญ และนักเขียนที่ไม่เป็นที่รู้จัก

 

คลิกสั่งซื้อ วารสารหนังสือใต้ดิน เล่มที่ 11

คลิกสั่งซื้อ วารสารหนังสือใต้ดิน เล่มที่ 14


แต่ก็เป็นเช่นเดียวกัน ความต่อเนื่องในการออกต้องชะลอลงตามสภาพเงินทุน เพราะทั้งหมดล้วนแต่เป็นเอกชนรายย่อยที่ออกทุนพิมพ์กันเอง ทว่าการคงอยู่ในชั่วระยะหนึ่งของ 'Underground Buleteen-วารสารหนังสือใต้ดิน' กลับเป็นบันทึกวิวัฒนาการวงการวรรณกรรมบ้านเราที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะในด้านการแตกยอดความหลากหลายทางงานเขียน (วิภาส ศรีทอง นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 55 จากเรื่อง 'คนแคระ' ได้ลงเรื่องสั้นยุคแรกๆ ของเขาในนิตยสารหัวนี้) การพัฒนาความสนใจไปสู่งานต่างประเทศที่นอกเหนือจากที่คนยุคก่อนเลือกนำเข้ามาแปล หรือบทสัมภาษณ์อันเข้มข้นที่สะท้อนสภาพความเปลี่ยนแปลงในแวดวงวรรณกรรมหลังปี 40 จนกระทั่งกลางทศวรรษ 50 

จนมาถึงในปี 2562 สำนักพิมพ์สมมติ โดยบรรณาธิการ ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล ผู้เป็นทั้งบรรณาธิการบริหารและบรรณาธิการผู้ควบคุมคุณภาพ ทั้งยังเป็นหนึ่งในทีมงานที่เคยสานต่อ “Underground Buleteen-วารสารหนังสือใต้ดิน” ในยุคหลังต่อจาก วาด รวี ตัดสินใจหยิบยกการตีพิมพ์สื่อกระดาษรวมบทความทางวรรณกรรมขึ้นมาอีกครั้ง ในชื่อ “Hidden Agenda-วาระสมมติ”

[ ตามจริงแล้ว วาระสมมติ หรือ Hidden Agenda ปรากฏตัวครั้งแรกในปี 2558 โดยใช้หมายเลขกำกับ #00 โดยในการตีพิมพ์ครั้งนั้น จัดพิมพ์จำนวนจำกัด และขายหมดลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเสมือนฉบับทดลอง โดยในครั้งนั้น วาระสมมติ ฉบับ 00 เป็นการรวม 6 บทสัมภาษณ์ของนักเขียนไทยร่วมสมัย อย่าง วิภาส ศรีทอง, สมพงษ์ ทวี', นิธิ นิธิวีรกุล ฯลฯ ]

'วาระสมมติ' ฟังชื่อแล้วดูคลุมเครือ ยิ่งชื่อภาษาอังกฤษคือ 'Hidden Agenda' ก็ยิ่งทำให้เรานึกสงสัยว่า หนังสือเล่มที่ว่าซึ่งประกาศตัวว่าจะเป็น 'พื้นที่แห่งวัฒนธรรมการวิจารณ์' นั้นคืออะไรกันแน่

ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล บรรณาธิการบริหารและบรรณาธิการสำนักพิมพ์สมมติ เล่าถึงที่มาของ วาระสมมติ ว่า


“แม้ว่า 'Hidden Agenda' หรือ 'วาระซ่อนเร้น' ตามความหมายของคำศัพท์ จะหมายถึงจุดมุ่งหมายซึ่งมีเบื้องลึกเบื้องหลังบางประการแอบแฝงเพื่ออำพรางซ่อนเร้นวาระที่แท้จริง เปิดเผยเพียงฉากหน้า เป็นการช่วงชิงพื้นที่เพื่อหวังผลในระดับที่สูงกว่าเปลือกนอก ซึ่งการกระทำภายใต้วาระซ่อนเร้นนี้มีนัยทางลบเพื่อให้เกิดประโยชน์และความได้เปรียบสูงสุดต่อผู้กระทำ

แต่ 'Hidden Agenda' ในความหมายของสำนักพิมพ์สมมติ แตกต่างจากความหมายเดิมโดยสิ้นเชิง

เราแปลคำ 'Hidden Agenda' ในฐานะคำว่า 'วาระสมมติ' เพื่อบอกว่ามันคือการเปิดพื้นที่สำหรับวัฒนธรรมการวิจารณ์ ความเชื่อ และข้อเสนอบางประการที่อาจไม่ได้รับโอกาสในพื้นที่กระแสหลัก ซึ่งจะเป็นหนังสือที่รวมทั้งบทความและเรื่องแต่ง เป็นหนังสือที่ให้พื้นที่กับบทความวิชาการนอกขนบ และเป็นพื้นที่จริงสำหรับเรื่องแต่งที่ไร้ขอบเขตทางวรรณกรรม

ก่อนหน้านี้ทางสำนักพิมพ์เคยออก 'วาระสมมติ ลำดับ #00' เป็นรวมบทสัมภาษณ์นักเขียนที่พิมพ์ในจำนวนจำกัด ครั้งนี้จึงเป็นการสานต่อสิ่งที่เราเคยทดลอง เป็น 'วาระสมมติ #01 On Literature' ซึ่งพูดเรื่องวรรณกรรมโดยเฉพาะ

ในนี้มีหลายบทที่พูดถึงวรรณกรรมยุคปัจจุบัน เช่น "พิษสวาท : โศกนาฏกรรมในโรมานซ์ ชาตินิยมชายเป็นใหญ่ในความรัก" โดย เฌอทะเล สุวรรณพานิช "มองฉัน-อย่ามองฉัน : ร่างกายของฉัน ร่างกายของพวกมัน ร่างกายทางสังคม /การเมือง และ ‘ร่าง’ ที่ ‘ปรารถนา’ ต่อตัวเอง" โดย จุฑา สุวรรณมงคล หรือ "พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ : กลวิธีระลึกทรงจำที่ร่วงหล่นในประเทศที่ไร้สิ้นซึ่งความทรงจำของ วีรพร นิติประภา" โดย ดุริยา บุญมั่น ซึ่งผู้อ่านในยุคนี้ต้องรู้จักหรืออย่างน้อยก็เคยได้ยินชื่อ

เรามุ่งหวังให้ 'Hidden Agenda' หรือ 'วาระสมมติ' เป็นเครื่องมือถางทางไปสู่ที่ว่างเพื่อบรรจุและต่อยอดความคิด โดยสำนักพิมพ์เป็นเพียง 'ข้อต่อ' ที่เชื่อมข้อความและประโยคต่างๆ เข้าด้วยกัน และหากจะเป็นเพียงหนึ่งวาระและหมุดหมายของการทำหนังสือ ก็ขอให้วาระนี้เป็น 'วาระของผู้อ่าน' ในการค้นพบและแสดงจุดยืนบางประการร่วมกันกับสำนักพิมพ์

แต่ในอนาคต เราหวังว่าจะได้เพิ่มเติม 'วาระ' ถัดๆ ไป ในฐานะหนังสือชุดที่รวมบทความซึ่งมุ่งเน้นประเด็นต่างๆ ที่หลากหลาย ทั้งวรรณกรรม รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศิลปะ และอื่นๆ ในนามขององค์ความรู้ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั้งหมด” 



การมาถึงของ '
วาระสมมติ' อาจมิใช่หน้าวรรณกรรมอย่างเต็มที่เช่นเดียวกับ 'WRITER' 'อ่าน' หรือ 'Underground Buleteen' ทว่าแม้หนังสือเล่มนี้ (ที่ฟังดูแล้วอนาคตน่าจะมีอีกหลายเล่ม) จะมีส่วนผสมของความรู้แขนงอื่นๆ ร่วมด้วย แต่ก็ยังอยู่ในพรมแดนที่สุ่มเสี่ยงต่อการสูญหายจากวงจรสิ่งพิมพ์ยุคปัจจุบันเช่นกัน

ที่สำคัญ การเปิดพื้นที่สำหรับบทวิจารณ์บนสิ่งพิมพ์กระดาษ ข้อจำกัดหนึ่งคืออาจมีผู้อ่านวงแคบ และอาจยังไม่สามารถเปิดรับบทความในรูปแบบสาธารณะอย่างเต็มที่ได้เหมือนนิตยสารทั่วไป

แต่อย่างน้อยนี่ก็เป็นก้าวเล็กๆ อีกก้าวหนึ่งสำหรับพื้นที่การวิจารณ์บนสื่อกระดาษที่นับวันจะยิ่งลดน้อยลง ส่วนในอนาคตเราจะได้เห็น 'วาระ' อื่นๆ อีกหรือไม่ ต้องรอติดตามกันต่อไป


==============================

ปรับปรุงจากบทความ "พื้นที่แห่งการวิจารณ์ : จาก "WRITER" ถึง "Underground Buleteen" และการกลับมาของ "วาระสมมติ" เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บไซต์ The Paperless

==============================

คลิกสั่งซื้อ วาระสมมติ หมายเลข 01 ว่าด้วยวรรณกรรม
(HIDDEN AGENDA - On Literature)

วริศ ลิขิตอนุสรณ์ : บรรณาธิการ
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการสำนักพิมพ์
หลายคนเขียน
จิรวัฒน์ รอดอิ่ม : ออกแบบปก

พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม 2562
ความหนา : 248 หน้า
ราคาปก 250 บาท
ISBN 978-616-7196-90-9




สนใจสั่งซื้อ Set 11 เล่ม วารสารหนังสือใต้ดิน (Underground Buleteen)



หรือ Set วารสารหนังสือใต้ดิน เล่ม 11-14 (Underground Buleteen)



---------------------------------------------------------------- 


เชิญเลือกซื้อหนังสือราคาพิเศษมากกว่า 80 ปก
ลดราคาทุกปก SALE Online Bookfair เรายกงานหนังสือมาบนหน้า Website ที่นี่




เงินไม่ถึง 100 ก็ซื้อได้ ราคาตั้งแต่ 93 บาท!!!

จัดส่งฟรี!!! เอาใจผู้อ่าน เมื่อสั่งซื้อครบ 1,200 บาท
----------------

เลือกซื้อหนังสือ ดีลเด็ด ช้อปด่วน [จำนวนจำกัด] คลิก FLASH SALE




สนใจหนังสือเป็น SET ครบชุด ไม่ต้องการเลือกให้วุ่นวาย เราจัดมาให้แล้ว คลิก SPECIAL SET



----------------

New TOTE BAG 2020 
พร้อมจัดส่ง มีให้เลือก 5 ลาย ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ซ้ำใครแน่นอน

ขนาดใหญ่จุใจ พิมพ์ลายเต็มถุง แข็งแรงทนทาน

ราคาเปิดตัวสุดพิเศษ  340 บาท  จำนวนจำกัด (จากราคาเต็ม 420 บาท)  คลิก http://bit.ly/3b907Cu



----------------

สำนักพิมพ์สมมติขอเชิญชวน 'ผู้อ่าน' ร่วมสวมใส่ เสื้อไม่ไว้วางใจ และ เสื้อยืดคำประกาศของคณะราษฎร เพื่อเป็นหนึ่งสัญลักษณ์ของการไม่สยบยอมต่ออำนาจอันไม่ชอบมาพากล


1. เสื้อไม่ไว้วางใจ


ในราคาพิเศษ 380 บาท
คลิก http://bit.ly/39417qK






● เสื้อยืดสีดำแสดงความเงียบ สงบ ทว่ามีนัยถึงความแข็งแกร่ง ไม่โอนอ่อน และไม่สยบยอม
● ข้อความบนเสื้อยืดสีดำ ทำหน้าที่ส่งเสียงกู่ตะโกนถึงความต้องการและการต่อต้านอย่างเงียบสงบที่สุด!!!

=============================

2. เสื้อยืดคำประกาศคณะราษฎร

ร่วม
ระลึกถึงหลักการตั้งต้นของ 'คณะราษฎร' กลุ่มคณะผู้นำประชาธิปไตยมาสู่สังคมไทย ในวาระครบรอบ 88 ปี อภิวัฒน์ 2475


คลิกสั่งซื้อ เสื้อยืดคำประกาศคณะราษฎร

ราคา 380 บาท

กล่าวสำหรับข้อความ 'พึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎร' คือวรรคทองวรรคหนึ่งที่ปรากฏอยู่ใน 'คำประกาศคณะราษฎร' ที่ถูกนำมาขณะย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิ.ย. 2475

และหากใครก็ตามที่ได้อ่าน 'คำประกาศฯ' จะเห็นว่า ข้อความ 'พึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎร' นำหน้าประโยคที่ต่อท้ายมาอย่างมีนัยสำคัญ!!!

ถึงเวลายืนยันตัวตน และชัดเจนในสิ่ง 'จุดยืน' และ 'อุดมคติตั้งต้น'

ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ครอบครองเสื้อ 'พึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎร'


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้