Set 7 เล่มของสุดยอดนักเขียนที่โลกไม่มีวันลืม

คุณสมบัติสินค้า:

รวมผลงานของนักเขียนที่ 'ชีวิตหนึ่งของการเป็นนักอ่าน' ควรได้อ่านผลงานพวกเขา

หมวดหมู่ : Special Set

Share

รวมผลงานของนักเขียนที่ 'ชีวิตหนึ่งของการเป็นนักอ่าน' ควรได้อ่านผลงานพวกเขา

นักเขียนทั้ง 7 คนเหล่านี้ เรียกได้ว่าเป็น นักเขียนคลาสสิค เพราะผลงานของพวกเขาอยู่ในระดับเข้าขั้น!

หนังสือ CLASSIC คือผลงานที่ดี --- หนังสือ CLASSIC ไม่ใช่หนังสือที่อ่านยาก

พูดอีกอย่างคือ ที่หนังสือเหล่านั้นเป็นงาน Classic ไม่ใช่เพราะมันยาก แต่เป็นเพราะ 'มันดีและมีคุณค่า'

งานเขียนที่ดีจึงไม่ขึ้นกับเวลา เพราะมันจะคงอยู่ไปตลอดกาล

  1. บาร์เทิลบี (Bartleby, the Scrivener)
  2. หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984)
  3. เดอะ ไทม์ แมชชีน (The Time Machine)
  4. ซาฮาโตโพล์ค (Zahatopolk)
  5. แฟรงเกนสไตน์ หรือ โพรมีธีอัสยุคใหม่ (Frankenstein; or, The Modern Prometheus)
  6. ชั่วใบระริกไหว (The Trembling of a Leaf)
  7. The Zürau Aphorisms - บันทึกปรัชญาขนาดสั้นของฟรันซ์ คาฟคา

============




เฮอร์แมน เมลวิลล์ (Herman Melville) American Author
ผู้เขียน บาร์เทิลบี (Bartleby, the Scrivener)

นักเขียนชื่อดังหลายคนได้รับอิทธิพลและยกย่องเมลวิลล์ - อัลแบร์ กามู (Albert Camus) เยินยอผลงานของเมลวิลล์อยู่เสมอ รวมถึงนวนิยายเรื่อง Billy Budd, Sailor ที่โด่งดังในแวดวงวรรณกรรมฝรั่งเศส

นักอ่านทั่วโลกย่อมต้องเคยได้ยินชื่อหนังสือ Moby-Dick นวนิยายไล่ล่าวาฬยักษ์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น 'วรรณกรรมชิ้นเอกของอเมริกา' ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานของเมลวิลล์เช่นกัน

และที่ขาดไม่ได้ก็คือ 'บาร์เทิลบี' (Bartleby, the Scrivener) ที่กลายเป็นเรื่องสั้นอเมริกันชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่ง

ดังเช่นที่ จอห์น อัพไดก์ (John Updike) นักเขียนอเมริกันผู้ได้พูลิตเซอร์สาขา Fiction กล่าวไว้ว่า "สรรนิพนธ์รวมเรื่องสั้นอเมริกันเล่มใดจะไม่นับรวมเรื่องสั้น 'บาร์เทิลบี' ก็เห็นจะเป็นไปไม่ได้"

"...เมลวิลล์เป็นนักเขียนที่ยังร่วมสมัยกระทั่งปัจจุบัน..."
-- The New York Times --

"...เขาคือนักเขียนอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่..."
-- Encyclopædia Britannica --

"...บาร์เทิลบีเป็นเรื่องเกี่ยวกับอภิปรัชญาแห่งความขบถ..."
-- The Guardian--

============




จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) English Author
ผู้เขียน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984)

จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) ผู้เขียน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984) ผ่านประสบการณ์โชกโชน ทั้งทำงานล้างจาน ทำงานในร้านหนังสือ ทำงานในโรงงาน และผู้สื่อข่าว

ภาพชีวิตที่ผ่านสายตาของออร์เวลล์ไม่เคยสูญเปล่า อย่างเช่น The Road to Wigan Pier, Down and Out in Paris and London และ Animal Farm

แต่นิยายที่ผู้คนทั่วโลกรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่งในโลกภาษาอังกฤษ และเป็นหนังสือที่บรรจุอยู่ในหลักสูตรโรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัยก็คือ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984)

วรรณกรรมว่าด้วยอำนาจและการเมืองที่ไม่ว่าจะจับไปวางในบริบทอำนาจใดในโลก ก็ไม่เคยล้าสมัยลงแม้แต่น้อย! ได้รับการยกย่องจากสื่อต่างๆ เช่น

100 Greatest Novels of All Time -- The Guardian --
100 Novels Everyone Should Read -- The Telegraph --
100 Greatest British Novels -- BBC --
100 Best Novels -- Modern Library --

ค.ศ.1949 ปีแรกที่หนังสือตีพิมพ์ ยอดขายหนังสือสูงถึง 400,000 เล่ม


หนังสือเล่มนี้ยังร่วมสมัยจนถึงปัจจุบันอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อภาพยนตร์เรื่อง 1984 ถูกนำมาฉายอีกครั้งในโรงภาพยนตร์กว่า 90 แห่งทั่วอเมริกาเพื่อประท้วง 'ทรัมป์' และยอดจำหน่ายหนังสือพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง

***หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984) ฉบับ 72 ปี* มีทั้งหมด 4 ปก (4 แบบ) สนพ.ขออนุญาตสุ่มแบบปกไปให้
============




เอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells) English Author
ผู้เขียน เดอะ ไทม์ แมชชีน (The Time Machine) และ ดินแดนคนตาบอด (The Country of the Blind)

นักเขียนชาวอังกฤษผู้มีผลงานเขียนกว่า 100 เรื่องในหลากหลายแนว ทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย บทความ และสารคดี ผลงานที่สร้างชื่อและทำให้เป็นที่จดจำมากที่สุดคืองานเขียนประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ อย่าง The Time Machine (1895), The Invisible Man (1897) และ The War of the Worlds (1898) มีผู้นำงานเขียนจำนวนมากของเวลส์มาสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อดัง

เอช. จี. เวลส์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของนวนิยายวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย โดยมีคู่แข่งคนสำคัญร่วมสมัยเดียวกันคือ จูลส์ เวิร์น (Jules Verne: 1828 - 1905) แตกต่างกันที่เวลส์นั้นเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์เชิงสังคมโดยแฝงทัศนคติทางการเมืองส่วนตัวแทรกเข้าไปด้วย

นิยายเรื่องแรก The Time Machine เป็นเรื่องราวของนักเดินทางที่ใช้ยานพาหนะที่เรียกว่า ‘ไทม์ แมชชีน’ เดินทางท่องเวลาไปปี ค.ศ.802701

นิยายเรื่องนี้เสียดสีการแบ่งแยกชนชั้นของอังกฤษ วิจารณ์ความก้าวหน้าของสังคมอุตสาหกรรม และกล่าวถึงเรื่องเวลาในฐานะที่เป็นมิติที่สี่ได้น่าทึ่ง หลายปีหลังจากนั้น ไอน์สไตน์ (Albert Einstein: 1879 - 1955) จึงพิมพ์ทฤษฎีว่าด้วยมิติของอวกาศและกาลเวลา

นอกจากนี้ เวลส์ยังมีผลงานนิยายขนาดสั้นเล่มหนึ่งชื่อ The Country of the Blind หรือในชื่อภาษาไทยคือ ดินแดนคนตาบอด -- เรื่องราวการผจญภัยไปในดินแดนลึกลับที่มีแต่คนตาบอด โดยเวลส์ได้ใช้นิยายเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นความบกพร่องของมนุษย์ในการตีความหมาย การวิพากษ์ และการพิจารณาถึงความจริง
============



เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ (Bertrand Russell) British Author
ผู้เขียน ซาฮาโตโพล์ค (Zahatopolk)

นับจากวอลแตร์เป็นต้นมา รัสเซลล์เป็นนักปรัชญาที่ถือว่ามีอิทธิพลทางสังคมมากที่สุดคนหนึ่ง รัสเซลล์คล้ายคลึงกับวอลแตร์ตรงที่มีลีลาการเขียนร้อยแก้วโดดเด่นและมีอารมณ์ขันอันละเอียดอ่อน ความคิดนอกรีตนอกรอยของเขาสร้างความไม่พอใจแก่บรรดานักอนุรักษนิยมที่เป็นนักศีลธรรมและเคร่งศาสนาทั้งหลายต่อมาอีกนาน
============




แมรี เชลลีย์ (Mary Shelley) English Author
ผู้เขียน แฟรงเกนสไตน์ หรือ โพรมีธีอัสยุคใหม่
(Frankenstein; or, The Modern Prometheus)

แมรี เชลลีย์ (Mary Shelly: 1797 - 1851) นักเขียนหญิงผู้ประทับชื่อไว้ในประวัติศาสตร์วรรณกรรมอังกฤษในวัยเพียงยี่สิบปี ด้วยงานเขียนอันเป็นตำนาน อย่าง 'แฟรงเกนสไตน์' 

ทันทีที่งานเขียนของเธอปรากฏ ก็ได้รับกระแสตอบรับอันรุนแรงว่าเป็นงานที่เพ้อฝัน ไร้สาระ และขัดต่อศีลธรรม จนส่งผลต่อปฏิกิริยาต่อต้านจากผู้ศรัทธาในนามของศาสนาคริสต์

เรื่องราวการเดินทางที่จะนำผู้อ่านจมดิ่งลงไปสัมผัสถึงความโหยหาในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่ถูกฉีกทึ้งอย่างไร้ความเมตตา เปิดเผยเบื้องหลังชื่อ 'แฟรงเกนสไตน์' ที่ไม่ใช่ชื่อ 'สัตว์ประหลาดน่ากลัว' อย่างที่เข้าใจกัน แต่สัตว์ที่ประหลาดที่คุณนึกถึงนั้น 'ไม่มีชื่อ' ด้วยซ้ำ!

นี่คือหนึ่งในตัวละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกวรรณกรรม และติดอันดับหนังสือ 'ทรงคุณค่า' และ 'ต้องอ่าน' จากสื่อระดับสากล

100 Greatest Novels of All Time -- The Guardian --
100 Novels Everyone Should Read -- The Telegraph --
100 Greatest British Novels -- BBC --
100 Greatest Novels of All Time -- The Observer --

============




วิลเลียม ซอเมอร์เซ็ท มอห์ม (W. Somerset Maugham) British Author
ผู้เขียน ชั่วใบระริกไหว (The Trembling of a Leaf)

"นักเขียนร่วมสมัยที่ผมเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อผมมากที่สุดก็คือ ซอเมอร์เซ็ท มอห์ม นั่นเอง ผมชื่นชมเขามากที่เล่าเรื่องได้ตรง มีแต่เนื้อล้วน"
จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell)

"เขาคือหนึ่งในนักเขียนคนโปรดของผม"
กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ (Gabriel Garcia Marquez)

"ความสำเร็จของมอห์มนั้นใหญ่หลวงยิ่ง เรื่องสั้นถือเป็นงานที่เขาถนัดโดยแท้ หลายเรื่องที่เขียนยังถือเป็นเรื่องชั้นเยี่ยมเท่าที่มีปรากฏในวรรณกรรมอังกฤษ"
แอนโธนี เบอร์เกส (Anthony Burgess)

คงไม่ต้องอธิบายให้มากความสำหรับความยิ่งใหญ่ของนักประพันธ์ผู้นี้ 'วิลเลียม ซอเมอร์เซ็ท มอห์ม' หากคุณต้องการเห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องลึกในจิตใจของมนุษย์ทุกคน ความปลิ้นปล้อนลวงหลอกของผู้คน ความอ่อนแอ ความเห็นแก่ได้  ---  คุณต้องไม่พลาด 'ชั่วใบระริกไหว' เล่มนี้

มอห์มได้รับอิทธิพลในการเขียนจากนักเขียนฝรั่งเศสซึ่งล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 อย่าง กีย์ เดอ โมปัสซังต์ (Guy de Maupassant) / กุสตาฟท์ โฟลแบรต์ (Gustave Flaubert) / เอมิล โซลา (Emile Zola)

สไตล์การเขียนของมอห์มถูกจัดอยู่ในสกุลธรรมชาตินิยม ที่เน้นการถ่ายทอดความรู้สึกออกมาตรงๆ เพราะเขาเชื่อว่าวิธีการเขียนแบบนี้เผยให้เห็นชีวิตและความเป็นมนุษย์อย่างที่มันเป็น
============


หนังสือทั้ง 7 เล่ม จากนักเขียนเหล่านี้ -- พูดได้อย่างเต็มปากว่า Classic -- Classic is always Modern.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้