Last updated: 30 พ.ค. 2563 | 13383 จำนวนผู้เข้าชม |
แมรี เชลลีย์ (Mary Shelley) English Author
ผู้เขียน แฟรงเกนสไตน์ หรือ โพรมีธีอัสยุคใหม่ (Frankenstein; or, The Modern Prometheus) นักเขียนหญิงผู้ที่ถูกจารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ของวรรณกรรมอังกฤษด้วยวัยเพียงยี่สิบปี
แมรีเกิดในครอบครัวชนชั้นปัญญาชน มารดาของเธอชื่อ แมรี โวลสโตนคราฟต์ (Mary Wollstonecraft: 1759 - 1797) นักเขียนหญิงผู้เรียกร้องสิทธิสตรี เจ้าของผลงาน A Vindication of the Rights of Woman (1792) ส่วนบิดาคือนักปรัชญาการเมือง วิลเลียม ก็อดวิน (William Godwin: 1756 - 1836) ผู้เป็นต้นกำเนิดของลัทธิอนาธิปไตย
โศกนาฏกรรมแรกในชีวิตเธอเกิดขึ้นก่อนเธอจะจำความได้ มารดาของเธอเสียชีวิตหลังให้กำเนิดเธอด้วยอาการติดเชื้อ บิดาเองก็แต่งงานใหม่ ด้วยความที่แมรีไม่ถูกกับแม่เลี้ยงคนใหม่ การแต่งงานของวิลเลียมจึงนำแต่ความทุกข์มาเติมเต็ม ทำให้เธอขาดความรักจากผู้ให้กำเนิด และเมื่อถึงคราวที่เธอมีความรัก ความรักของเธอกับเพอร์ซีก็เป็นรักนอกสมรสที่สังคมไม่ให้การยอมรับ
ต้นฉบับเรื่อง แฟรงเกนสไตน์ เกิดมาจากความฝันของเธอในคืนหนึ่ง ขณะที่เธอพักผ่อนอยู่ที่คฤหาสน์ของบารอน เพื่อนสนิทของเธอ ในความฝันของแมรี เธอเห็นนักศึกษาศาสตร์อวิชชาผู้หนึ่งนั่งเฝ้ามองร่างมนุษย์ทดลองของตน ร่างทดลองนั้นถูกปลุกให้ตื่นขึ้นด้วยกลวิธีทางวิทยาศาสตร์ ร่างที่ประกอบขึ้นจากซากศพขยับเขยื้อนอย่างน่าหวาดกลัว ชายหนุ่มรับไม่ได้ในสิ่งที่เขาให้กำเนิด เพราะมันคือการฝ่าฝืนกฎธรรมชาติอย่างร้ายแรง เขาพยายามหลีกหนีความจริงเข้าสู่ห้วงนิทรา แต่สุดท้ายก็ต้องสะดุ้งตื่น หวาดผวา เมื่อมองเห็นดวงตาโตสีเหลืองของสัตว์ประหลาดที่เขาสร้างขึ้นจ้องมองเขาอยู่
แมรีใช้เวลาเก้าเดือนในการเขียนต้นฉบับจนจบ และแล้ว 'แฟรงเกนสไตน์' ฉบับแรกก็ได้ตีพิมพ์ ณ กรุงลอนดอน ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1818 โดยไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียน จนมาถึงฉบับแก้ไขปรับปรุงซึ่งได้รับการตีพิมพ์ที่ฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1823 จึงมีการเปิดเฉยชื่อของแมรีในฐานะผู้แต่ง
แฟรงเกนสไตน์เป็นนวนิยายโกธิคที่โดดเด่นกว่าวรรณกรรมโกธิคทั่วไป เพราะนอกจากมีองค์ประกอบของสิ่งเหนือธรรมชาติแล้ว ยังมีจุดสนใจหลักอยู่ที่ประเด็นอื่นนอกเหนือจากการสร้างความหวาดกลัวให้ผู้อ่าน ด้วยเหตุที่นวนิยายเรื่องนี้ใช้การทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นตัวจุดประกายความขัดแย้งในเรื่อง 'แฟรงเกนสไตน์' จึงนับเป็นงานเขียนที่บุกเบิกวรรณกรรมวิทยาศาสตร์แนวใหม่ซึ่งสำรวจประเด็นซับซ้อนทางปรัชญาอย่างความเป็นมนุษย์อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หลังจากตีพิมพ์ได้ไม่นาน แฟรงเกนสไตน์ก็ถูกนักวิจารณ์ส่วนใหญ่โจมตีว่าเป็นงานเขียนที่เพ้อฝัน ไร้สาระ และขัดต่อศีลธรรมอย่างร้ายแรง เพราะนำเสนอภาพการทดลองสร้างมนุษย์ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่เรียกปฏิกิริยารุนแรงจากผู้ศรัทธาในศาสนาคริสต์ ก่อนจะถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครเวทีและภาพยนตร์ เกิดการตีความใหม่เพียงด้านเดียวว่าวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นเพียงนวนิยายสยองขวัญที่ต่อต้านความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
หลายคนจึงรู้จักแฟรงเกนสไตน์ในฐานะของสัตว์ประหลาดน่าเกลียดน่ากลัวตนหนึ่งในภาพยนตร์ไซไฟสยองขวัญ ดราม่าเรียกน้ำตา หรือแม้แต่ในภาพยนตร์ล้อเลียนต่างๆ แต่ใครเลยจะรู้ว่าแท้จริงแล้วแฟรงเกนสไตน์นั้นมีคุณค่าในเชิงปรัชญามากมายเพียงใด…
แฟรงเกนสไตน์คือจุดเริ่มต้นของวรรณกรรมไซไฟในปัจจุบัน
-- สตีเฟน คิง (Stephen King) --
แฟรงเกนสไตน์บุกเบิกงานเขียนดิสโทเปีย และสร้างตำนานแห่งความสยดสยองจากผลที่ตามมาของการทดลองอย่างไม่รู้จักพอ
-- Daily Telegraph --
ความสำเร็จของแฟรงเกนสไตน์ซ่อนอยู่ในการนำ 'ความหวาดกลัวในความรู้ต้องห้าม' มาตีความใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในความกลัวอันไม่สิ้นสุดของมนุษยชาติ
-- ไอแซค อาซิมอฟ (Isaac Asimov) --
เปี่ยมไปด้วยความหลอกหลอน ความโศกเศร้า และเป็นงานเขียนโกธิคที่งดงาม
-- Independent --
เรื่องราวการเดินทางที่จะนำคุณจมดิ่งลงไปสัมผัสถึงความโหยหาในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่ถูกฉีกทึ้งอย่างไร้ความเมตตา
เปิดเผยเบื้องหลังชื่อ 'แฟรงเกนสไตน์' ที่ไม่ใช่ชื่อ 'สัตว์ประหลาดน่ากลัว' อย่างที่เข้าใจกัน แต่สัตว์ที่ประหลาดที่คุณนึกถึงนั้น 'ไม่มีชื่อ' ด้วยซ้ำ!
┈ ┉ ┈
นี่คือหนึ่งในตัวละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกวรรณกรรม และติดอันดับหนังสือ 'ทรงคุณค่า' และ 'ต้องอ่าน' จากสื่อระดับสากล
ชีวิตของเธอขณะเขียน Frankenstein ได้ถูกถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ชื่อ Mary Shelley แสดงนำโดย Elle Fanning ออกฉายเมื่อกลางปีนี้ (2018)
'แฟรงเกนสไตน์ หรือ โพรมีธีอัสยุคใหม่'
หนังสือเล่มนี้จะเปลี่ยน 'ความหวาดกลัวและความเกลียดชัง' ให้กลายเป็น 'ความสงสารและความเจ็บปวดอันท่วมท้น' ต่อสัตว์ประหลาด และ...ผู้คนรอบตัวคุณ!
┈ ┉ ┈
คลิกสั่งซื้อ แฟรงเกนสไตน์ หรือ โพรมีธีอัสยุคใหม่
(Frankenstein; or, The Modern Prometheus)
26 ส.ค. 2565
25 ก.ย. 2565
26 ก.ย. 2565
16 ก.ย. 2565