ทำไมใส่เสื้อยืดดำประท้วง | ความหมาย การแสดงออก และนัยทางการเมือง

Last updated: 24 ก.ค. 2566  |  10788 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมต้องใส่เสื้อยืดดำประท้วง

เสื้อดำ - ลึกลับ ซ่อนเร้น และต่อต้าน

ครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยคลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่แต่งกายสีดำเพื่อแสดงจุดยืนทางการเมือง 

ต่อมาในปี 2566 วันที่ 23 กรกฎาคม --- ผู้คนรวมตัวกันที่บริเวณสี่แยกอโศกมนตรี บนเวทีมีการพูดถึงการใส่เสื้อดำเพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองอีกเช่นกัน

แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมการประท้วงถึงใส่ ‘เสื้อดำ’ สีดำเป็นสัญลักษณ์ของอะไรหรือสื่อถึงสิ่งใดกันแน่

‘สีดำ’ ในยุคหินเป็นสีที่ถูกใช้ในการบันทึกสิ่งต่างๆ ลงบนผนังถ้ำ

สมัยกรีกโบราณ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงโลกแห่งวิญญาณตามความเชื่อของพวกเขา

ในศตวรรษที่ 12 - 13 นักบวชแต่งกายสีดำเพื่อแสดงนัยของการสำนึกผิดต่อบาป และแสดงออกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน

เวลาต่อมาเสื้อผ้าสีดำเป็นเครื่องแสดงฐานะอันร่ำรวยของเหล่าพ่อค้า เพื่อแสดงถึงอำนาจ เกียรติยศ เนื่องจากในช่วงนั้นมีวิวัฒนาการในการย้อมสีผ้าให้ดำสนิท เนื้อผ้าสีดำจึงมีราคาสูง

‘สีดำ’ ในศตวรรษที่ 17 กลับกลายเป็นสีแห่งความชั่วร้ายของคนในสังคม เป็นสีที่เหล่าผู้ใช้คาถาอาคมและเวทมนตร์ลึกลับครอบครอง

‘สีดำ’ ถูกปฏิวัติอีกครั้งในต้นศตวรรษที่ 19 ด้วยวิทยาศาสตร์ให้กลายเป็นสีที่มีราคาถูกและเข้าถึงได้ง่ายกว่าแต่ก่อน จนมีผู้คนเอาไปสวมใส่อย่างล้นหลาม
=====

‘สีดำ’ ในปัจจุบันหมายถึงอะไร

‘สีดำ’ ในงานศพ คือการแสดงความอาลัยให้แก่ผู้วายชนม์และแสดงความโศกเศร้าต่อผู้สูญเสีย

‘สีดำ’ ในทางจิตวิทยา สื่อถึงความลึกลับ อำนาจ ความองอาจและความซับซ้อน ผู้ใดได้จ้องมองจะถูกดึงดูดเข้าไป

และสำหรับผู้มีชื่อเสียง ‘สีดำ’ ก็มีความหมายแตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์

ตลกชื่อดังอย่าง Louis C.K. ใส่เสื้อยืดสีดำเดินท่ามกลางฝูงชนจำนวนมากโดยที่ไม่มีใครสังเกตเลยว่าเป็นเขา สีดำในเวลานั้นได้พรางตัวเขาและปกปิดตัวตนที่มีชื่อเสียงของเขา กลับกัน เมื่อเขาสวมใส่เครื่องแบบสีดำบนเวที มันกลายเป็นเครื่องหมายและเป็นตัวนำเสนออัตลักษณ์ของเขาให้เด่นชัดขึ้นมา จนเกิดเป็นภาพจำแก่ผู้ชม

แม้แต่ Steve Job ก็ห่อหุ้มตัวเขาด้วยเสื้อคอเต่าสีดำยามอยู่บนเวที ‘สีดำ’ เป็นตัวสร้างความเป็นหนึ่งเดียวระหว่าง Steve Job กับผู้ชม กล่าวได้ว่า สีนี้ได้ดูดกลืนอัตลักษณ์ของตัวแบบและกลืนกลายให้ตัวแบบเป็นเพียงคนคนหนึ่งที่ ‘ไร้ตัวตน’ เพื่อขับเน้นให้สินค้าโดดเด่น
=====

'สีดำ' กับ 'การเมือง'

ในยุคที่ Benito Mussolini มีอำนาจในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 'เสื้อผ้าสีดำ' ถูกนำมาเป็นเครื่องแบบของกองทัพพลเรือนที่ชื่อ Blackshirts เพื่อแสดงออกถึงอำนาจ รวมทั้งความหวาดกลัวต่อผู้พบเห็น นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. 1932 เครื่องแต่งกายสำหรับผู้สนับสนุนพรรคนาซี (Nazi) ก็เป็นสีดำล้วน ซึ่งคนกลุ่มนี้คือกองกำลังกึ่งทหารสังกัดพรรคนาซี โดยมี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นผู้สั่งการ

นัยนี้แสดงเห็นว่า เสื้อผ้าโทนสีดำเกี่ยวข้องกับ 'อำนาจ' และ 'ความกลัว'

สำหรับวงการแฟชั่น สีดำกลับมีนัยที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ ในช่วงทศวรรษ 1920  สีดำหมายถึงอิสรภาพ Coco Chanel และ Jean Patou ทำลายขนบการแต่งกายของผู้หญิงยุคนั้นที่ต้องแต่งกายตามโอกาส โดยออกแบบชุดกระโปรงสีดำเพื่อให้ใส่ได้ทุกสถานการณ์จนโด่งดังและกลายเป็นกระแสทั่วโลก กระแสเสื้อโทนดำถุกจุดขึ้นอีกครั้งในวงการแฟชั่นในช่วงทศวรรษ 1980 บนรันเวย์ในกรุงปารีสโดย Rei Kawakubo, Comme des Garçons และ Yohji Yamamoto ที่แหวกขนบเสื้อผ้าสีฉูดฉาดในตอนนั้น

นักออกแบบชาวญี่ปุ่นมีทัศนะต่อสีดำที่น่าสนใจ Kawakubo มองว่าสีดำคือ 'ความแข็งแกร่ง' เธอเชื่อว่ามันจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ที่สวมใส่ ส่วน Yamamoto เห็นว่า “สีดำคือการถ่อมตัวแต่ก็มีความหยิ่งยโสในเวลาเดียวกัน"

‘สีดำ’ ยังถูกใช้ในทางการเมืองเพื่อต่อต้านผู้มีอำนาจอีกด้วย เช่น การประท้วงของชาวฮ่องกงที่ต่อต้านอำนาจจีนโดยมีการแต่งชุดดำ จนทำให้จีนต้องห้ามไม่ให้ส่งออก ‘เสื้อดำ’ ไปที่ฮ่องกงหรือในไทย ที่พบเห็นการประท้วงต่างๆ โดยใช้ ‘เสื้อดำ’ ในการประท้วง โดยเฉพาะเมื่อไม่นานมานี้ที่กลุ่มเยาวชนปลดแอกมี Dress Code เป็นเสื้อยืดสีดำในการชุมนุม โดยให้เหตุผลว่า

“เพื่อไว้อาลัยให้กับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นรายวันในประเทศที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย”

=====

เป็นไปได้หรือไม่ว่า ‘เสื้อดำ’ ที่ผู้คนสวมใส่ในการประท้วงอาจหยิบยืมความหมายของ ‘สีดำ’ มาจากบริบทต่างๆ

‘เสื้อดำ’ ในทางการเมืองอาจต้องการไว้อาลัยแก่ ความพังพินาศ ความล้มเหลว และความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศจากการปกครองของผู้มีอำนาจ

‘เสื้อดำ’ อาจเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจแบบหนึ่งของประชาชน ยามตะวันสาดส่องจะ ‘โดดเด่น’ ‘ดึงดูด’ และ ‘องอาจ’ แต่ยังคงกลมกลืนกับฝูงชน ยามดวงจันทร์ส่องแสง ‘เสื้อดำ’ กลับซ่อนพรางเจ้าของไปกับความมืด ทั้งลึกลับและซับซ้อน ยากที่ผู้มีอำนาจจะสามารถชี้เป้าได้ และนั่นยิ่งทำให้ ‘เสื้อดำ’ กลายเป็นสิ่งที่ทั้งดึงดูดผู้คนให้สนใจ ในทางกลับกันก็เป็นตัวปกปิดตัวตนจากผู้มีอำนาจที่ไม่ชอบธรรม

หรือความจริงแล้ว ‘เสื้อดำ’ สื่อความว่า ตนเป็นผู้ที่ถูกกระทำจากสังคมอันเน่าเฟะจนไม่สามารถแต่งเติมสีสันอื่นได้อีก จนกว่าจะได้รับ ‘เสื้อ’ ตัวใหม่ที่ไม่ใช่สีดำมาปกป้องและคุ้มครองร่างกายของพวกเขา ‘เสื้อ’ ที่พวกเขาเลือกเองว่าจะเติมสีอะไรลงไป

การใส่ ‘เสื้อดำ’ ในการประท้วงอาจเป็นการส่งสัญญาณไปถึงผู้มีอำนาจ เป็นการสื่อสารว่า ‘ประชาชน’ เป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริงในสังคม

และหากผู้ปกครองยังไม่รับฟังเสียงหรือทำตามข้อเรียกร้องของประชาชน เมื่อนั้นจะได้รู้กันว่าใครคือผู้ปกครองที่แท้จริง

======================

สั่งซื้อ 'เสื้อยืดดำ' ได้แล้ววันนี้  (เลือกชมได้ทุกแบบได้ที่ http://bit.ly/2qUTfGN )

- คลิกสั่งซื้อที่รูป - เสื้อยืดสำหรับราษฎรทั้งหลาย

1. เสื้อยืดศรัทธา





2. เสื้อ the Code




3.
เสื้อคณะราษฎร

== สกรีนลาย 2475 : Democracy Dies [?] ==




***ลายนี้สีขาว แต่ข้อความร้อนแรง***

4. เสื้อยืดสังคมไทย (ข้อเขียนของวัฒน์ วรรลยางกูร)




มีเสื้อดำอีกหลายแบบให้คุณเลือก คลิกได้ที่ http://bit.ly/2qUTfGN

======================

อ้างอิง

https://www.oberlo.com/blog/color-psychology-color-meanings

https://www.theatlantic.com/technology/archive/2013/09/black-t-shirts-the-original-invisibility-cloaks/279655/

https://www.gqthailand.com/style/article/all-about-the-color-black


https://www.scmp.com/lifestyle/fashion-beauty/article/3033312/china-bans-exports-black-clothing-hong-kong-amid-protests


https://www.facebook.com/115562146559518/posts/286692646113133


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้