การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม (Pre-Capitalist Economic Formations) Karl Marx

คุณสมบัติสินค้า:

ติดตามและศึกษาว่ามาร์กซใช้หลักฐานและข้อมูลต่างๆ ในทางประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยา มาวิเคราะห์และสร้างโมเดลของรูปการณ์สังคมก่อนทุนนิยมอย่างไร

Share

"...ยุคโบราณให้ความพอใจที่จำกัดแก่เรา ขณะที่โลกสมัยใหม่ทิ้งความไม่พอใจให้แก่เรา หรือถ้ามันมีความพอใจในตัวมันเอง ก็เป็นสิ่ง 'สามานย์' และ 'ไร้ค่า' "

บางส่วนจาก การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม (Pre-Capitalist Economic Formations)


การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม (Pre-Capitalist Economic Formations) โดย คาร์ล มาร์กซ (Karl Marx) แปลโดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

'การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม' นี้เป็นตอนหนึ่งของต้นฉบับมหึมาที่ คาร์ล มาร์กซ เขียนขึ้นในปี 1857 - 1858 เพื่อตระเตรียมสำหรับนิพนธ์เรื่อง 'Critique of Political Economy' หรือ 'วิพากษ์เศรษฐศาสตร์การเมือง' และ 'Capital' หรือ 'ทุน'

อีริค ฮอบสบอว์ม (Eric Hobsbawm) กล่าวไว้ในบทกล่าวนำของเล่มนี้ว่า

'การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม' จัดอยู่ในช่วงที่มาร์กซสุกงอมเต็มที่ มันเป็นผลจากทศวรรษแห่งการศึกษาอย่างเอาจริงเอาจังในอังกฤษ และแสดงถึงขั้นตอนในความคิดของมาร์กซอย่างแจ่มชัด ก่อนหน้าจะร่าง 'Capital' หรือ 'ทุน'


กล่าวให้ถึงที่สุด 'Pre-Capitalist Economic Formations' หรือ 'การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม' คือคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมมาร์กซ์ถึงสนใจ 'ระบบทุนนิยม'

'การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม' เป็นเสมือนการให้แนวในการติดตามและศึกษาว่ามาร์กซใช้หลักฐานและข้อมูลต่างๆ ในทางประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยา มาวิเคราะห์และสร้างโมเดลของรูปการณ์สังคมก่อนทุนนิยมอย่างไร

มาร์กซพยายามทำให้เราเห็นตาม 'ข้อค้นพบ' และ 'ข้อสรุป' ของเขา นั่นคือการที่สังคมจะต้องสลายเพื่อจะก้าวเดินไปข้างหน้าตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ทางการผลิต และรูปแบบของทรัพย์สินที่สอดคล้องกับความสัมพันธ์นั้นในแต่ละรูปแบบของสังคม
┈ ┉ ┈

มาร์กซทั้งคิดและเชื่อว่าแต่ละสังคมนับแต่ยุคโบราณได้พัฒนาไปสู่ระบบที่ซับซ้อนกว่า และที่มาร์กซเห็นได้ชัดคือ จุดหมายของ 'ทุนนิยม' ไม่ได้อยู่ที่มนุษย์เลย แต่กลับทำลายทุกอย่าง นั่นคือระบบนี้ได้แยก 'มนุษย์ผู้ผลิต' ออกจาก 'การผลิต' โดยสิ้นเชิง ซึ่งแตกต่างจาก 'ระบบก่อนทุนนิยม' ที่ผู้ใช้แรงงานยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับการผลิต

แนวคิดและวิธีวิทยาของมาร์กซมีความเป็น 'วิทยาศาสตร์แห่งสังคม' (science of society) ทำให้การศึกษาและการวิเคราะห์สังคมสามารถทำได้ในหลากหลายมิติ และอย่างมีชีวิตจิตใจ เพราะแม้จะเป็นวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไม่ละเลยความเป็นมนุษย์ของสังคมและการเมือง
┈ ┉ ┈

เป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้วที่ 'การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม' ในภาคภาษาไทยฉบับพิมพ์ครั้งแรกปรากฏขึ้น

สำหรับการกลับมาอีกครั้งในครั้งนี้ ผู้แปลได้ทำการชำระใหม่ทั้งในส่วนเนื้อหาและบทกล่าวนำ ของ อีริค ฮอบสบอว์ม พร้อมทั้งเพิ่มเติมภาคผนวก "ปรัชญาประวัติศาสตร์ของลัทธิมาร์กซ" เอาไว้ท้ายเล่มด้วย

หากยังเชื่อในการเปลี่ยนแปลงของสังคม และเชื่อว่าสังคมไม่เคยหยุดนิ่ง 'การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม' จะทำให้เห็นถึงพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมในรอบ 4000 ปีที่ผ่านมา

และได้เห็นว่า ทำไมผู้ผลิตจึงกลายเป็นคนที่ 'สูญเสียกรรมสิทธิ์' ที่เป็น 'ของเขา' เอง / ทำไมมันจึงหลุดหายและกลายเป็นของ 'คนอื่น'
 

 
┈ ┉ ┈ ┉ ┈ ┉ ┈ ┉ ┈ ┉

การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม (Pre-Capitalist Economic Formations)


คาร์ล มาร์กซ (Karl Marx) : เขียน
อีริค ฮอบสบอว์ม (Eric Hobsbawm) : บทนำ
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ : แปล และ ภาคผนวก "ปรัชญาประวัติศาสตร์ของลัทธิมาร์กซ"
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการ
ปฐมพงศ์ น้ำใจดี : ออกแบบปก

สารบัญ

  • คำชี้แจงของผู้แปลฉบับภาษาไทย (ตุลาคม 2527)
  • บทนำ (1) โดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
  • บทนำ (2) โดย อีริค ฮอบสบอว์ม ( Eric John Ernest Hobsbawm, 1964)
  • บทที่ 1 วิวัฒนาการของชุมชนและเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยม
  • บทที่ 2 การก่อรูปของระบบทุนนิยม
  • ภาคผนวก: ปรัชญาประวัติศาสตร์ของลัทธิมาร์กซ์ โดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

ความหนา : 192 หน้า
ISBN 978-616-7196-80-0
==========

หนังสือที่คุณน่าจะชอบ
Set นักคิดทางการเมืองคนสำคัญ ราคาพิเศษ





Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้