เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ | เกียจคร้านอย่างไรให้มีความสุข

Last updated: 11 ส.ค. 2565  |  2253 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ | เกียจคร้านอย่างไรให้มีความสุข

นักปรัชญาชาวอังกฤษ เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ ผู้คุ้นเคยกับการทำงานหนัก ในศตวรรษที่ 20 มีงานเขียนของเขาที่รวบรวมไว้มากมาย  ทั้งยังต้องรับผิดชอบสิ่งสำคัญหลายอย่างรวมถึงการก่อตั้งโรงเรียนสอนปรัชญา และตลอดชีวิตอันยาวนานของเขาจนถึงวัย 97 ปี เขาเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่ไม่รู้จักความเหน็ดเหนื่อย



แล้วทำไมนักคิดที่กระตือรือร้นที่สุดเช่นเขาจึงแนะนำว่าเราควรจะทำงานน้อยลงล่ะ?

บทความเรื่อง In Praise of Idleness ของรัสเซลล์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1932 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ การเผยแพร่แนวคิดความเกียจคร้านในช่วงเวลาดังกล่าวอาจดูไม่ดีนัก การว่างงานเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งในสามของประชากรที่ทำงานในบางส่วนของโลก 

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของรัสเซลล์ ความวุ่นวายทางเศรษฐกิจสมัยนั้นเป็นผลมาจากทัศนคติที่หยั่งรากลึกและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับงานนั่นเอง


- - What is work? - - 

รัสเซลล์เริ่มต้นด้วยการนิยามคำว่า 'งาน' ซึ่งเขากล่าวว่างานมี 2 ประเภท 

ประเภทแรกคือ งานที่มีเป้าหมายที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งสิ่งของบนระนาบหรือใกล้ระนาบพื้นโลก โดยสัมพัทธ์กับสิ่งของอื่น กล่าวอีกอย่างคือ เป็นงานพื้นฐานที่สุด นั่นคือการใช้แรงงานคน 

ประเภทที่สองคือ "การบอกคนอื่นให้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งสิ่งของโดยสัมพัทธ์กับสิ่งของอื่น"  รัสเซลล์กล่าวว่างานประเภทที่สองนี้สามารถขยายคำจำกัดออกไปได้อย่างไม่ชัดเจน คุณจะจ้างคนอื่นเพื่อมาดูแลการทำงานของคนงานเอง หรือจ้างหัวหน้างานมาคอยสั่งการคนที่เป็นหัวหน้าอีกทีก็ได้

เขากล่าวว่างานประเภทแรกมีแนวโน้มที่จะไม่เป็นที่พอใจและได้ค่าตอบแทนไม่ดี ในขณะที่งานประเภทที่สองมีแนวโน้มที่จะน่าพึงพอใจกว่าและได้ค่าตอบแทนมากกว่า 

งานสองประเภทนี้นิยามคนงานออกเป็น 2 ประเภท - คนงานและหัวหน้างาน

และงานทั้งสองก็เชื่อมโยงกับชนชั้นทางสังคม 2 ชนชั้น นั่นคือชนชั้นแรงงานและชนชั้นกลาง

รัสเซลล์กล่าวว่า ประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยตัวอย่างของคนที่ทำงานหนักมาทั้งชีวิต และสุดท้ายก็ได้รับอนุญาตให้มีเงินใช้สอยสำหรับชีวิตตัวเองและครอบครัวเพียงเพื่ออยู่รอดเท่านั้น สำหรับส่วนเกินที่พวกเขาได้ทำงานไป กลับตกไปอยู่ในมือของพวกนักรบ นักบวช รวมถึงพวกคนมีอำนาจที่ไม่มีอะไรทำ


ดังนั้น รัสเซลล์จึงเห็นว่าการได้เปรียบหรือได้ประโยชน์ที่เกิดจากระบบเช่นนี้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับศีลธรรมของระบบ โดยเขามองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมอย่างชัดเจน


- - The importance of play - - 

มุมมองของรัสเซลล์ การทำงานน้อยลงจะทำให้เรามีอิสระ และคิดสร้างสรรค์ได้มากยิ่งขึ้น 
"การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นเรื่องสำคัญ" หากต้องทำงานในทุกๆ ชั่วโมงที่ตื่น เราจะไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่


- - Leisure time - -

เวลาว่างสำหรับรัสเซลล์ มันไม่ควรเป็นเวลาพักผ่อนหลักจากการทำงาน กลับกันมันควรเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในชีวิต เพราะมันควรเป็นการสร้างความรู้สึกสนุกและความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง


-- บางส่วนจากหนังสือ 'The Philosophy Book' --

เรียบเรียงโดย พัชรพร นิลประเสริฐ

..,

สนใจงานเขียนของรัสเซลล์ 

คลิกสั่งซื้อ ซาฮาโตโพล์ค (Zahatopolk)








Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้