ทำไม '1984' ถึงเป็นหนังสือต้องห้าม

Last updated: 9 ต.ค. 2567  |  25904 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไม '1984' ถึงเป็นหนังสือต้องห้าม

เปิดรับสมาชิกตลอดชีพรุ่นสาม
ผ่อน 0 % เริ่มต้นเพียง 4,400 บาทต่อเดือน


ผู้อ่านสามารถออกแบบงวดผ่อนชำระเองได้ (ระยะเวลาไม่เกิน 10 เดือน) ได้รับหนังสือเมื่อชำระครบ

รายละเอียดคลิก คำประกาศความรู้สึกและจินตนาการใหม่ในการทำสำนักพิมพ์



#รับจำนวนจำกัด #ครบจำนวนปิดรับทันที
====================

--- 6 เหตุการณ์ที่ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984) กลายเป็นหนังสือต้องห้าม ---


1. 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่' ถูกเผาทำลายภายใต้การปกครองของสตาลิน


ประเทศรัสเซีย ค.ศ.1950 ภายใต้การปกครองของสตาลินและสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (USSR) หนังสือ 1984 ถูกเผาทำลายและสั่งห้ามไม่ให้เผยแพร่ ผู้ใดครอบครองหนังสือเรื่องนี้จะต้องโทษจำคุกเนื่องจากมีเนื้อหาที่สุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงของระบอบคอมมิวนิสต์

หลังจาก 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่' ถูกสั่งห้ามในรัสเซียมานานกว่า 40 ปี หนังสือเรื่องนี้ก็ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่และจำหน่ายอีกครั้งในปี ค.ศ.1990 หลังจากได้มีการแก้ไขเนื้อหาบางส่วนแล้ว


2. ผู้ปกครองในแจ็คสันเคาน์ตีร้องเรียนว่า 'หนังสือเล่มนี้ต่อต้านรัฐบาล'

ในปี ค.ศ. 1981 เมืองแจ็คสันเคาน์ตี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ได้ประกาศให้ 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่' เป็นหนังสือที่สนับสนุนคอมมิวนิสต์และมีเนื้อหาสื่อถึงนัยทางเพศอย่างชัดเจน และได้รับการร้องเรียนจากพ่อแม่ผู้ปกครองว่า 'หนังสือเล่มนี้ต่อต้านรัฐบาล' มีเนื้อหารุนแรงและเป็นอันตรายต่อความคิดของเยาวชน


3. ค.ศ. 2017 รัฐไอดาโฮ สหรัฐอเมริกา

'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่' ถูกสั่งห้ามจำหน่ายหลังจากผู้ปกครองชาวไอดาโฮร้องเรียนว่าหนังสือเรื่องนี้ “มีเนื้อหาที่ป่าเถื่อนรุนแรง และภาษาที่ส่อนัยทางเพศ"


4. กินแซนด์วิช อ่าน 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่'

ประเทศไทย พ.ศ.2557 หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 กลุ่มนักศึกษาจากศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย (ศนปท.) ก็ได้จัดทำกิจกรรม "ไม่มีอะไรมว๊าก แค่อยากกินแซนด์วิช" ขึ้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 เดือนของรัฐประหาร

กิจกรรมดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อชายสวมแว่นดำ ('หรือที่นักข่าวให้ชื่อว่า 'แชมป์ 1984') นั่งรับประทานแซนด์วิชบริเวณลานน้ำพุของห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน พร้อมกับอ่านหนังสือ 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่' และเปิดเพลงชาติฝรั่งเศสไปพร้อมกัน ไม่นานนัก ชายคนดังกล่าวและกลุ่มนักศึกษาก็ถูกจับกุมในเวลาต่อมา

หลังจากเหตุการณ์นี้ 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่' กลายเป็นหนังสือที่หลายคนให้ความสนใจ และขึ้นอันดับหนังสือขายดีตามร้านหนังสือทั่วไป ต่อกรณีนี้ แม้ว่า 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่' จะได้รับการตีพิมพ์ในสังคมไทยมานานแล้วก็ตาม แต่กระแสการป้องปราบ กดทับ ไม่ให้เนื้อหาของ 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่' แพร่หลาย จากการกระทำของผู้มีอำนาจ (แม้ไม่มีประกาศสั่งห้ามจำหน่ายหนังสืออย่างเป็นทางการก็ตาม) กลับก่อให้เกิดความต้องการของผู้อ่านมากเป็นทวีคูณในยุคสมัยนี้ !



5. ประเทศคูเวตสั่งห้ามผลิต 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่'

คูเวตเป็นประเทศที่มีการสั่งห้ามผลิต จำหน่าย และครอบครองวรรณกรรมหลากหลายรูปแบบ มีหนังสือกว่า 4,390 เรื่องที่ถูกแบนระหว่างปี 2014 ถึง 2018 โดยบรรดาหนังสือที่ถูกจัดไว้ว่าเนื้อหาไม่เหมาะสมนั้นมีตั้งแต่ I Know Why The Caged Bird Signs โดย มายา แองเจลู, เจ้าหญิงเงือกน้อย (The Little Mermaid) ในแบบฉบับของดิสนีย์ รวมไปถึงหนังสือเรื่อง 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่' ของ จอร์จ ออร์เวลล์


6. จีนห้ามพูดถึง 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่'

ในประเทศจีน แม้ว่าหนังสือเรื่อง 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่' จะไม่ได้ถูกสั่งห้ามตีพิมพ์หรือจำหน่าย แต่การกล่าวถึงหนังสือเล่มดังกล่าวและคำบางคำอย่าง ‘จอร์จ ออร์เวลล์’ และ ‘แอนิมอล ฟาร์ม’ ก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้บนโลกออนไลน์
==============

คลิกสั่งซื้อ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984)
 ฉบับครบรอบ 72 ปี

ครบชุดการออกแบบ - 4 ปก



หรือคลิกสั่งซื้อ Set ครบชุดวรรณกรรมโลกสมมติ ในราคาพิเศษ


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้