Last updated: 5 ต.ค. 2567 | 42024 จำนวนผู้เข้าชม |
เปิดรับสมาชิกตลอดชีพรุ่นสาม
ผ่อน 0 % เริ่มต้นเพียง 4,400 บาทต่อเดือน
ผู้อ่านสามารถออกแบบงวดผ่อนชำระเองได้ (ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน) ได้รับหนังสือเมื่อชำระครบ
รายละเอียดคลิก คำประกาศความรู้สึกและจินตนาการใหม่ในการทำสำนักพิมพ์
#รับจำนวนจำกัดเหมือนเดิม
#ปรับราคาขึ้นตามปฏิจจสมุปบาท
#มีระบบผ่อนเหมือนสมาชิกสองรุ่นแรก
#ได้รับหนังสือทุกเล่มที่มีอยู่และจากนี้ตลอดไป
#มีสิทธิพิเศษอื่นอีกหลายอย่างที่มากกว่าเดิม
====================
|
คำถามชวนฉงนสนเท่ห์ที่มีมาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัยสำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจคลั่งไคล้หนังสือ คือ ทำไมเราถึงเรียกสถานที่เก็บรวบรวมหนังสือว่า 'ห้องสมุด' เหตุใดจึงไม่เรียกว่า 'ห้องหนังสือ' ในเมื่อเข้าไปใน 'ห้องสมุด' ก็เห็นแต่หนังสือเต็มไปหมด
เราอาสาพาผู้อ่านย้อนเวลา กลับไปค้นหา สำรวจจุดกำเนิดของสมุดและหนังสือ เพื่อตอบคำถามค้างคาใจ ว่าด้วยเรื่องที่มาของชื่อ 'ห้องสมุด' ซึ่งสัมพันธ์กับบริบททางประวัติศาสตร์การพิมพ์ของไทย
คำว่า 'สมุด' เป็นคำไทยดั้งเดิม ใช้เรียกแผ่นกระดาษที่พับทบไปมาเหมือนพัดด้ามจิ๋ว มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะขีดเขียน บันทึกเรื่องราวต่างๆ ลงไว้ด้วยลายมือ แล้วสามารถพับเป็นปึกหนาประมาณ 2-3 นิ้ว เรียกว่า 'สมุด'
กระดาษปึกหนึ่งนับเป็นสมุดหนึ่งเล่ม หากจะเทียบกับภาษาปัจจุบัน 'สมุด' ในเวลานั้นก็คือ 'หนังสือ' นั่นเอง บางครั้งก็เรียกหนังสือที่เขียนหรือคัดลอกด้วยมือและทำเป็นเล่มโดยการพับกระดาษทบกันเป็นปึกว่า 'สมุดไทย' ถ้าเป็นหนังสือทางพระพุทธศาสนา หรือเป็นของพระมหากษัตริย์ก็เรียก 'พระสมุด'
หากเรื่องราวที่บันทึกมีขนาดยาวอาจประกอบด้วยสมุดไทยหลายปึกหรือหลายเล่ม สมุดประเภทนี้ได้แก่ คัมภีร์พระไตรปิฎก วรรณกรรมทางศาสนา กฎหมาย ตำรายา หรือตำราโหราศาสตร์ ดังนั้นสถานที่เก็บรวมรวบสมุดจึงได้ชื่อว่า 'ห้องสมุดหรือหอสมุด' นอกจากนี้ ความสามารถในการเขียนได้ อ่านออก ยังเป็นทักษะที่จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง และแวดวงศาสนา ภิกษุ สามเณร ห้องสมุดจึงมักตั้งอยู่ในวัดและพระราชวัง
สมุดลักษณะนี้ใช้กันมาอย่างยาวนานในสังคมไทย จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ความนิยมก็เริ่มลดลง เนื่องจากการรับเอาศิลปวิทยาการ เทคโนโลยีการตีพิมพ์ด้วยเครื่องจักร และการเย็บเล่มแบบหนังสือของชาวตะวันตกเข้ามาในประเทศไทย นับตั้งแต่กำเนิดโรงพิมพ์โดยบาทหลวงคาทอลิกเมื่อต้นรัชกาลที่ 1 จนถึงการพิมพ์ยุคหมอบรัดเลย์ ในสมัยรัชกาลที่ 4
การพิมพ์ในยุคต้นทำให้เกิดการเผยแพร่องค์ความรู้อย่างกว้างขว้างกว่าการคัดลอกด้วยลายมือ ทำให้ยุคของการคัดลอกด้วยลายมือลงบนสมุดค่อยๆ หายไปจากสังคมไทย และเป็นยุคเริ่มต้นของการใช้ 'สมุดฝรั่ง' เพื่อแทนการใช้ 'สมุดไทย' และกระดาษม้วน ดังที่ปรากฏในประกาศห้ามปี พ.ศ.2397 ซึ่งระบุว่าไม่ให้ทำฎีกาถวายด้วยกระดาษม้วนอีกต่อไป แต่ให้ใช้สมุดอย่างฝรั่งแทน
'หนังสือ' หรือ 'สมุดอย่างฝรั่ง' ที่ผลิตด้วยวิธีการตีพิมพ์ ถูกเก็บรักษาไว้ในห้องสมุดซึ่งเคยเป็นสถานที่รวบรวมสมุดไทยมาก่อน ด้วยเหตุนี้เราจึงยังคงเรียกสถานที่เก็บรวบรวมหนังสือว่า 'ห้องสมุด' เนื่องจากมันเคยเป็นสถานที่เก็บสมุดที่ขีดเขียน ด้วยมือจริงๆ มาก่อน แต่ภายหลัง 'หนังสือ' ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น จนกระทั่งเข้าแทนที่ 'สมุดไทย'
นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมเวลาเข้าห้องสมุด แต่มองไปทางไหนก็เห็นแต่หนังสือ
==================
สนใจสั่งซื้อชุดหนังสือ ราคาพิเศษ Special Set
พบกับ 'หนังสือดี ราคาโดน' ที่ 'ลดแล้ว ลดอีก'
14 เม.ย 2564
14 เม.ย 2564