1984 กับ 7 เรื่องจริงที่คุณอาจไม่รู้

Last updated: 24 ธ.ค. 2563  |  10062 จำนวนผู้เข้าชม  | 

1984 กับ 7 เรื่องจริงที่คุณอาจไม่รู้

  • ออร์เวลล์ถูกจับจ้องตลอดการเขียน 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่'
  • ห้อง 101 | ที่สุดของการทรมานหรือฝันร้ายในหนังสือนั้นมีจริงๆ
  • จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) ไม่ใช่ชื่อจริงของนักเขียนคนนี้

=====

สั่งซื้อหนังสือ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984) ฉบับครบรอบ 72 ปี

ครบชุดการออกแบบ - 4 ปก


=====

1. พี่เบิ้มจับตา จอร์จ ออร์เวลล์ ตลอดการเขียน 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่'

วรรณกรรมชิ้นก่อน ๆ ของออร์เวลล์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สหราชอาณาจักรเกิดความไม่ไว้วางใจในตัวออร์เวลล์ หนังสือของเขาถูกจัดให้เป็นงานเขียนที่มีแนวคิดตามระบอบคอมมิวนิสต์ ยิ่งไปกว่านั้น ออร์เวลล์ยังเคยไปออกทริปวิจัยในปี 1936 และพักอาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ 'ที่ได้รับการจัดหาไว้โดยคณะคอมมิวนิสต์ท้องถิ่น' ตามที่มีบันทึกไว้

เขาอยู่ภายใต้การจับตามองของสหราชอาณาจักรเป็นเวลานานกว่า 12 ปี ผู้ตรวจตราได้เขียนรายงานเกี่ยวกับอุปนิสัยของเขาเอาไว้ว่า “ชอบแต่งตัวเหมือนกับพวกศิลปินนอกรีต”

2. บุรุษรายสุดท้ายในยุโรป (The Last Man in Europe) เป็นชื่อที่ออร์เวลล์เคยคิดจะมอบให้แก่หนังสือเล่มนี้

ก่อนการตีพิมพ์หนังสือครั้งแรก ออร์เวลล์เขียนในจดหมายถึงผู้จัดการของเขาเอาไว้ว่า

“ผมยังเลือกชื่อเรื่องไม่ได้ ผมค่อนข้างจะชอบชื่อ 'บุรุษรายสุดท้ายในยุโรป' หรือไม่ก็ 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่' นะ แต่ผมอาจจะคิดชื่ออื่นออกภายในอาทิตย์สองอาทิตย์นี้ก็ได้”

สุดท้าย หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ก็ได้รับเลือกให้เป็นชื่อเรื่องเนื่องจากความน่าฉงนของมันที่ชวนให้ผู้อ่านสงสัยได้เป็นอย่างดี

3. จูเลีย มีต้นแบบมาจากภรรยาคนที่ 2 ของออร์เวลล์

ตัวละครพนักงานหญิงอย่างจูเลียนั้นทำงานอยู่ในแผนกวรรณกรรมเริงรมย์ ในขณะที่ ซอนยา บราวเนลล์ ภรรยาคนที่ 2 และคนสุดท้ายของออร์เวลล์ ทำงานเป็นผู้ช่วยของบริษัทนิตยสารวรรณกรรม

ชีวิตคู่ของออร์เวลล์และซอนยาไม่ได้รื่นรมย์ไปกว่าชีวิตของจูเลียและวินสตันเท่าไหร่นัก หลังจากทั้งคู่แต่งงานกันได้เพียง 14 สัปดาห์ ออร์เวลล์ก็เสียชีวิตลง

4. ออร์เวลล์เคยใช้ชีวิตอยู่ในห้องหมายเลข 101 จริงๆ

ห้อง 101 ในโลกของออร์เวลล์นั้นหาได้เป็นห้องที่เต็มไปด้วยการทรมานหรือฝันร้ายอันน่าหวาดกลัวอย่างในหนังสือ 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่' แต่อย่างใด หากแต่เป็นเพียงห้องทำงานของออร์เวลล์ในสถานีแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (บีบีซี) ซึ่งเขาได้นั่งเขียนโฆษณาชวนเชื่อให้กับสหราชอาณาจักรเป็นเวลานานหลายปี

5. จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) เกือบไม่ได้เขียนหนังสือเล่มนี้

พี.เอส. เบอร์ตัน (P.S. Burton) เคนเนธ ไมลส์ (Kenneth Miles) หรือ เอช ลูอิส ออลเวยส์ (H. Lewis Allways) ล้วนแล้วแต่เป็นนามปากกาที่นักเขียนชื่อ เอริค อาร์เธอร์ แบลร์ (Eric Arthur Blair) คิดขึ้นมาเพื่อใช้ในงานเขียนของเขา

จอร์จ ออร์เวลล์ ก็เป็นหนึ่งในนามปากกาเหล่านี้ โดยแบลร์เลือกใช้ชื่อนี้ใน Down and Out in Paris and London หนังสือเล่มแรกในชีวิตนักเขียนวิพากย์สังคมของเขา ซึ่งปรากฏสู่สาธารณชนในปี 1933 นับจากวันนั้น นามปากกาอันเลื่องชื่อนี้ก็ได้อยู่คู่กับแบลร์มาตลอดจนกระทั่งเขาจากไปในปี 1950

6. ออร์เวลล์ป่วยเป็นวัณโรคอย่างรุนแรงระหว่างการเขียน 'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่'

ออร์เวลล์ย้ายไปอาศัยในฟาร์มของเพื่อนที่ประเทศสกอตแลนด์เพราะตั้งใจจะเขียนหนังสือในสภาพแวดล้อมอันเงียบสงบ แต่หลังจากเขาย้ายไปได้ไม่นาน เขาก็โชคร้ายที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาในฐานะผู้ป่วยโรคปอดบวมเรื้อรัง

อาการของเขาเลวร้ายลงเรื่อยๆ ระหว่างการเขียนหนังสือ จนเขาได้เสียชีวิตลงด้วยอาการตกเลือดในปอดจากวัณโรคในระยะเวลาเพียง 7 เดือนหลังจากที่ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ.1949

7. ดาวเคราะห์น้อยที่ถูกค้นพบในปี 1984 ได้รับการตั้งชื่อตาม 'ออร์เวลล์'

วันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ.1984 แอนโทนิน มาร์คอส นักดาราศาสตร์จากสาธารณรัฐเช็กได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยที่โคจรอยู่รอบนอกวงโคจรของดวงอาทิตย์

ยานา ทิชา นักดาราศาสตร์ชาวเช็กได้เสนอชื่อให้แก่ดาวเคราะห์น้อยที่ถูกค้นพบไว้ว่า 11020 ออร์เวลล์ ต่อมาในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ.2000 ศูนย์ดาวเคราะห์น้อย (Minor Planet Center) ก็ได้อนุมัติให้ 11020 ออร์เวลล์ เป็นชื่อโดยทางการของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้
===-=

ชวนอ่าน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984) วรรณกรรมว่าด้วยอำนาจและการเมืองที่ไม่ว่าจะจับไปวางในบริบทอำนาจใดในโลก ก็ไม่เคยล้าสมัยลงแม้แต่น้อย!

The 100 Best Novels written in English
-- The Guardian --

100 Greatest British Novels
-- BBC --

100 Novels Everyone Should Read
-- The Telegraph --

100 Greatest Novels of All Time
-- The Guardian --

"...ถ้าออร์เวลล์อายุยืนกว่านี้ เขาจะต้องเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์สังคมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง
แต่เขาก็มีชีวิตนานพอที่จะเขียนหนังสือเกี่ยวกับการเมืองซึ่งเป็นหนึ่งส่วนสำคัญของมนุษยชาติ..."

-- The New Yorker--


คลิกสั่งซื้อ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984)


คลิกสั่งซื้อ ครบชุดวรรณกรรมโลกสมมติ (ราคาพิเศษ!!!)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้