เมื่อกษัตริย์ไม่ได้อยู่เหนือการเมือง?!? อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

Last updated: 15 พ.ค. 2565  |  2221 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เมื่อกษัตริย์ไม่ได้อยู่เหนือการเมือง?!? อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

หนังสือเล่มนี้เน้นการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงทางความคิดของชนชั้นนำไทยในยุคที่สังคมไทยได้เริ่มก้าวเข้าสู่สมัยใหม่ แสดงให้เห็นถึงการสูญเสียอำนาจในการอธิบายโลกและมนุษย์ของแนวความคิดทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับ ‘ไตรภูมิ’ และ ‘ปัญจอันตรธาน’ โดยที่ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมได้ทำให้ชนชั้นนำของไทยเปลี่ยนมามีความคิดทางเวลาแบบใหม่ คือ เวลาแบบก้าวหน้า และนำไปสู่การมีแนวความคิดว่าพระมหากษัตริย์คือผู้กำหนดวิถีประวัติศาสตร์ของไทยให้ดำเนินไปสู่ความก้าวหน้า ซึ่งกลายเป็นแรงผลักดันให้ชนชั้นนำสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดสูงสุดอย่างแท้จริงขึ้นมาในกลางทศวรรษ  2430

หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อเกิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นแล้ว ก็มีความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนวัฒนธรรมทางความคิดอย่างไม่หยุดยั้ง ที่สำคัญคือการที่กลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่ดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และทำงานที่อาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้คนกลุ่มนี้มีความสำนึกในศักยภาพของตนและมีจิตสำนึกแบบปัจเจกชนนิยมสูงขึ้นมาก จนกระทั่งไม่ยอมรับเฉพาะ ‘หน้าที่พลเมือง’ ตามที่รัฐทำการถ่ายทอด-ปลูกฝัง หากแต่คิดว่าตนเป็นพลเมืองที่มีหน้าที่อันสำคัญต่อชาติโดยตรง คือการเสนอความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหาของชาติและทำให้ชาติเจริญก้าวหน้า กลายเป็นพลังทางความคิดที่ส่งผลให้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475

คนแต่ละฝ่ายต่างก็มองปัญหาและแสวงหาทางออกจากจุดยืนของฝ่ายตน และประณามอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง โดยปราศจากความพยายามที่จะเข้าใจความคิดของ ‘ฝ่ายตรงข้าม’ เพื่อจะลดทอนอคติที่มีต่อกัน และร่วมกันแสวงหาทางออกที่ทุกฝ่ายพอจะยอมรับได้ ผู้เขียนจึงหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์อยู่บ้าง ในแง่ที่ช่วยให้มองเห็นถึงเงื่อนไขปัจจัยอันสลับซับซ้อนที่ส่งผลต่อความคิดของกลุ่มคน และเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่า ปฏิบัติการทางสังคมหรือการเมืองของคนแต่ละกลุ่มนั้น มีพลังทางความคิดอันเกิดจากเงื่อนไขปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่ซับซ้อนเกินกว่าจะจัดการได้ด้วยอำนาจรัฐหรืออำนาจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล และการแก้ไขหรือการป้องกันปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน เพราะเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโครงสร้างสังคมที่มีพลวัตอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ต้องสร้างระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เพื่อให้คนทุกกลุ่มมีส่วนร่วมทางการเมือง และมีอำนาจต่อรองอย่างเสมอภาค

บางส่วนจากคำนำ ในเล่ม การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475





โดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
=====

คลิกสั่งซื้อชุดหนังสือประวัติศาสตร์ที๋โรงเรียนไม่ได้สอน พร้อมให้คุณเบิกเนตรและตาสว่าง ในราคาพิเศษ



1. การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475:
ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปรสำนึก จากกษัตริย์ สู่ชนชั้นนำ ถึงปัจเจกชนและสามัญชน
●— อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
450 บาท


2. ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ :
ว่าด้วยการท่องเที่ยว ในฐานะมรดกแห่งการสร้างชาติของรัฐไทย จากรัฐจารีต สงครามเวียดนาม สู่ยุครัฐประหาร 2549 (On Thai Tourism)
●— ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
300 บาท


3. บทสำรวจวาทกรรมชนบทและบ้านนอกในความเป็นไทย : 
รื้อ - สร้าง - ทบทวน สำนึกและมายาคติต่อความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำของชนบทกับเมือง ตั้งแต่ไพร่ ชาวนา คนเสื้อแดง ถึงชนชั้นกลางใหม่ (On Countryside)
●— สามชาย ศรีสันต์ 
300 บาท

4. ความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสยามไทย :  
บทความวิเคราะห์และตีความ ว่าด้วยความคิดของไพร่กระฎุมพีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในระยะก้าวผ่านจากสังคมไทยเดิม มาสู่การเป็นสังคมสมัยใหม่ (On Bourgeoisie)
●— ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ 
450 บาท

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้