Last updated: 10 ส.ค. 2567 | 2282 จำนวนผู้เข้าชม |
ความเข้าใจเรื่องความขัดแย้งทางชนชั้นในการปฏิวัติฝรั่งเศสปรากฏมากนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1815 เป็นต้นมา สำหรับความเข้าใจว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นความขัดแย้งทางชนชั้น เป็นกรอบคิดซึ่งนำเข้าจากประเทศอังกฤษที่เน้นความขัดแย้งทางการเมืองในรูปของชนชั้น เช่น กรอบคิดของ เอ็ดมันต์ เบิร์ก นักปรัชญาชาวอังกฤษ
อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับความเข้าใจที่มีต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่พลังขับเคลื่อนของการเปลี่ยนแปลงในกรอบความคิดของพวกอังกฤษก็ยังให้ความสำคัญแก่ 'ชนชั้นกลาง' ดังนั้นความคิดเรื่องความขัดแย้งทางชนชั้นในการปฏิวัติฝรั่งเศสจึงเป็นกรอบคิดของพวกอังกฤษมากกว่าจะเป็นความคิดของคนฝรั่งเศสเอง
หากเป็นเช่นนั้น กลุ่นคนพวกไหนที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในการปฏิวัติฝรั่งเศส? เพราะอย่างน้อย การปฏิวัติฝรั่งเศสในฐานะของ 'การปฏิวัติกระฎุมพี' ตามกรอบคิดแบบมาร์กซิสต์ ก็ถูกสั่นคลอนมากนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา คำอธิบายการปฏิวัติฝรั่งเศสว่าเป็น 'การปฏิวัติกระฎุมพี' ถูกท้าทายและไม่ทรงอำนาจอีกต่อไป เพระาประวัติศาสตร์ของการปฏิวัติฝรั่งเศสถูก 'ปฏิวัติ' ทางความคิดด้วยคำอธิบายที่ว่า บรรดานักปฏิวัติที่ล้มล้างระบอบทั้งหลาย ต่างก็มีรายได้และวิถีชีวิตที่ไม่แตกต่างไปจากบรรดาขุนนางทั้งหลาย เช่น มีรายได้จากค่าเช่า เป็นต้น
ดังจะเห็นได้จาก เอ็มมานูเอล โจเซฟ ซีเยส ผู้ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าทฤษฎี ในการ 'เปิดฉากการปฏิวัติฝรั่งเศส' หรือ 'สถาปนิกแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศส' นอกจากนั้นยังเป็นเจ้าแห่ง 'การทำรัฐประหาร' ในการ 'ล้มล้างการปฏิวัติฝรั่งเศส' จากการขึ้นมามีอำนาจของ นโปเลียน โบนาปาร์ต สถาปนิกแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศสผู้นี้มีบทบาทสำคัญในการยกฐานะคนธรรมดาให้ครองอำนาจรัฐสมัยใหม่
สำหรับช่วงก่อนการปฏิวัติ กรอบความคิดของเขาถูกโจมตีว่าสิ่งที่เขาเสนอนั้นเป็นเรื่องทฤษฎีหรือเป็นเพียงอภิปรัชญา แต่ระยะเวลาก็พิสูจน์แล้วว่า 'ไม่ใช่ทฤษฎี แต่เป็นการปฏิบัติ' และยังเป็นการปฏิบัติที่ส่งผลระยะยาวในทางการเมือง และกว้างออกไปนอกทวีปยุโรปด้วย
บางส่วนจากบท เอ็มมานูเอล โจเซฟ ซีเยส กับการสร้างประชาชน โดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา
ในเล่ม ว่าด้วยประชาชน (On People) -- สนใจสั่งซื้อคลิกที่รูปภาพ
***สนใจสั่งซื้อชุดหนังสือ ในราคาพิเศษ***
Set รวมงานธเนศ วงศ์ยานนาวา
Set รื้อ-สร้าง และท้าทายทางความคิด