มหาบุรุษแห่งชุมชนศีลธรรม | ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช

คุณสมบัติสินค้า:

วัฒนธรรมอำนาจนิยมและอารมณ์เชิงวัฒนธรรมไทย

หมวดหมู่ : งานวิชาการ 350 THB

Share


-- จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งการเมืองไทยเริ่มจากไหน
-- ทำไมต้อง 'เหลือง/แดง' -- เราเทิดทูนคนดีเพราะเหตุใด
-- ระหว่าง 'จงรักภักดี' กับ 'ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์' จำเป็นต้องเลือกหรือไม่
-- สถาบันกษัตริย์และศาสนาคือ 'คุณค่าหลักทางการเมืองและสังคมไทย' หรือไม่

หนังสือเล่มนี้อาจให้คำตอบคุณได้!!!

ข้อมูลเชิงลึกประวัติศาสตร์การเมืองไทยรวมอยู่ในเล่มนี้ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่นำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรง การยัดข้อกล่าวหา กักขัง และดำเนินคดีต่อนักเคลื่อนไหว รวมถึงเบื้องหลังความขัดแย้งของคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ซึ่งดูจะไม่มีจุดจบและเป็นบาดแผลฝังลึกอยู่ในสังคมไทย

เนื้อหาในเล่มรวมถึงที่มาที่ไปของ 'วาทกรรมราชาชาตินิยม' และสาเหตุที่ ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นเป้าโจมตีในกลุ่มชนชั้นกลาง กรณี 'ระบอบทักษิณ' และข้อกล่าวหาว่าเป็นภัยคุกคามต่อชาติและสถาบันกษัตริย์

เผยมิติความซับซ้อนของความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ทั้งความขัดแย้งต่อระบบและตัวบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้การแบ่งแยกทางความคิดการเมืองสองขั้วคือ 'ประชาธิปไตยอนุรักษนิยม' และ 'ประชาธิปไตยเสรี' ของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองเสื้อสีเหลืองและเสื้อสีแดง

บางส่วนจาก คำนิยม โดย ยศ สันตสมบัติ "...สังคมไทยปิดบังกลบเกลื่อนความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นภายใต้ทฤษฎีมหาบุรุษ ราชาชาตินิยม ความเป็นไทย ความสามัคคี บนการยอมรับความไม่เท่าเทียม รู้จักที่ต่ำที่สูง รู้จักสถานะของตน...ชนชั้นนำและชนชั้นกลางได้รับประโยชน์จากระบบอุปถัมภ์และการใช้เส้นสาย มากกว่าระบอบประชาธิปไตยและแนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพ...เพราะส่วนลึกแล้ว สันดาน (habitus) ของชนเหล่านี้สอดคล้องรองรับระบบอุปถัมภ์มากกว่า การสมาทาน/ยึดติดอยู่กับทฤษฎีมหาบุรุษและชาตินิยม จึงเป็นผลผลิตของทั้งโครงสร้างของจิตใจกับโครงสร้างทางการเมืองที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ทางชนชั้น..."

บางส่วนจาก คำนิยม โดย ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น "...ในยุครัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ศีลธรรมไม่ใช่แค่เรื่องศาสนาและเรื่องส่วนตัว แต่กลับกลายเป็นอาวุธที่ถูกใช้เพื่อล้มล้างรัฐบาลที่คนเสื้อเหลืองมองว่าขาดศีลธรรมอันดี และเพื่อทำร้ายคนที่ขาดศีลธรรมอันดี ในทั้งสองกรณี ความหมายของการขาดศีลธรรมอันดีคือ การไม่แสดงความจงรักภักดีเพียงพอต่อสถาบันกษัตริย์ และแน่นอนว่าคนเสื้อเหลืองย่อมมองตัวเองว่าเป็นผู้เต็มเปี่ยมด้วยศีลธรรมอันดี ศีลธรรมได้กลายมาเป็นเรื่องการเมืองและเรื่องสาธารณะ  ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง..."


มหาบุรุษแห่งชุมชนศีลธรรม :
วัฒนธรรมอำนาจนิยมและอารมณ์เชิงวัฒนธรรมไทย


ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช : เขียน
ยศ สันตสมบัติ และ ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น : คำนิยม
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการสำนักพิมพ์
สิทธิวัฒน์ เรืองพงศธร : บรรณาธิการเล่ม
DESIGN | ● สมมติ STUDIO ● | จิรวัฒน์ รอดอิ่ม

พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2565
ความหนา : 272 หน้า
ราคาปก 350 บาท
ISBN 978-616-562-047-5
======================

ทดลองอ่านบางส่วนจากในเล่ม

// ราชาชาตินิยม | วาทกรรม ความเชื่อ และลัทธิบูชา //
// 3 มายาคติ ของ 'วัฒนธรรมไทย' | ยศ สันตสมบัติ //
// รัฐศาสตร์เพื่อประชาธิปไตย | ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น //
// การเมืองศีลธรรม | ความเชื่อ อำนาจ และกษัตริย์ //
// 112 กับความยุติธรรมของกลุ่มคนเสื้อแดง //
// ทำไมชนชั้นกลางเกลียดทักษิณ //
// การปกครองโดย ‘คนดี’ ในระบอบประชาธิปไตย //
// ชนชั้นกลางใหม่และประชาธิปไตยกินได้ //
// ความซับซ้อนของความขัดแย้งในการเมืองไทย //
======================

- สารบัญ -

บทที่ 1 อารมณ์ในทางวัฒนธรรม สังคม และการเมือง

บทที่ 2 การเมืองศีลธรรม : ความกลัว เกลียด รังเกียจ และโกรธของชนชั้น

บทที่ 3 ความรักและโกรธแค้น : ความจริง ความยุติธรรม และความหวังของคนเสื้อแดง

บทที่ 4 การช่วงชิงความหมายทางการเมือง ประชาธิปไตย และความยุติธรรมภายใต้ความขัดแย้ง

บทที่ 5 บทสรุป : การเมืองของผู้คนในชีวิตประจำวัน ศีลธรรม บารมี และความชอบธรรมของรัฐไทย
======================

ขอแนะนำ SET หนังสือเล่มใหม่ ในราคาพิเศษ



Set มายาคติในการเมืองไทย


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้