Last updated: 19 พ.ค. 2564 | 2871 จำนวนผู้เข้าชม |
รวมบทความเกี่ยวกับ 'ความรุนแรง' ที่สามารถโหลดไปอ่านกันแบบฟรีๆ จากหลายท่าน
ปรีดี หงษ์สต้น . ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย . ประจักษ์ ก้องกีรติ . วรยุทธ มูลเสริฐ . บัณฑิต ทิพย์เดช . ชลัท ประเทืองรัตนา . บัณฑิต ไกรวิจิตร . สุพัตรา จิตตเสถียร . รอมฎอน ปันจอร์ . วิชัย รูปขําดี
1. เชือดไก่ให้ลิงดู: รัฐไทยกับการทำลายศัตรูด้วยนาฏกรรม
— ปรีดี หงษ์สต้น
"วัฒนธรรมเชือดไก่ให้ลิงดูของไทยนั้นไม่ได้อาศัยเพียงเจ้าหน้าที่รัฐในการทําลายศัตรูหรือ 'มาร' เท่านั้น แต่มันอาศัยชาวบ้านร้านช่องธรรมดาๆ ในการรับวัฒนธรรมเชือดไก่ให้ลิงดูนี้ให้เข้าไปอยู่ในระดับวิถีชีวิตประจําวัน"
https://bit.ly/2LDVWqP
============
2. ความรุนแรงของบาทายล์: ‘หลุม’ ‘โอกาส’ การเปลี่ยนแปลงอัตตาฃ
— ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย
“ความรุนแรงในความคิดของบาทายล์เป็นความรุนแรงที่มนุษย์กระทําากับอัตตาของตนเอง มนุษย์พบเผชิญกับความโศกเศร้าและความเจ็บปวดอันเกิดจากการใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมของรัฐสมัยใหม่และสังคมสมัยใหม่ เมื่อภาพลวงตาพังทลายลง กอปรกับความผิดหวังที่เข้ามาเยือน จึงเป็นมูลเหตุของการกระทําาความรุนแรงกับอัตตาของตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวอัตตาเอง”
https://bit.ly/3uPCcBY
============
3. ความรุนแรงในการเลือกตั้งของไทย: ศึกษากรณีการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554
— ประจักษ์ ก้องกีรติ
“ในบริบทของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานานนับทศวรรษเช่นนี้ ทำให้การใช้อิทธิพลมืดและวิธีการแข่งขันแบบเก่า ซึ่งรวมถึงการใช้ความรุนแรงกำจัดคู่แข่งขัน แม้ว่าจะยังมีการนำมาใช้อยู่ แต่ก็เริ่มเป็นวิธีการที่ล้าสมัยและมีประสิทธิภาพลดลง”
http://bit.ly/3gPU2yY
============
4. ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม
— วรยุทธ มูลเสริฐ
“ตลอด 40 ปีที่ผ่านมาสังคมไทยมีกระบวนการที่จะลบลืมความทรงจำ 6 ตุลาฯ ออกจากสังคมไทยราวกับว่าไม่เคยเกิดขึ้น”
https://bit.ly/3nkjfUD
============
5. เสกสรรค์ ประเสริฐกุล กับวาทกรรมความรุนแรงในวรรณกรรม
— บัณฑิต ทิพย์เดช
“วรรณกรรมของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้ประกอบสร้างฉากชีวิตของผู้คนในสังคมที่เกี่ยวข้องแวดล้อมไปด้วยบริบทของความรุนแรงรุมเร้าแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาความยากจน ความพยายามในการต่อสู้ของชนชั้นล่างกับกลุ่มอำนาจที่ ไม่เป็นธรรม การถูกเอารัดเอาเปรียบ ตลอดจนการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อทำให้ผู้อ่านเชื่อ รับรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นภายใต้ระบอบประชาธิปไตย”
https://bit.ly/3a8PotE
============
6. ความรุนแรงและทางออกกรณีความเห็นต่างทางการเมือง: แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์สำหรับสังคมไทย?
— ชลัท ประเทืองรัตนา
“การร่วมใจกันเร่งผลักดันการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น ด้วยการค้นหาความจริงทุกแง่ทุกมุม เพื่อเดินไปสู่อนาคต ร่วมกันเร่งเยียวยาผู้สูญเสียอย่างเร่งด่วนไม่ให้รู้สึกว่าถูกทอดทิ้งพร้อมๆ กับการเปิดพื้นที่สานเสวนาทุกพื้นที่ และบ่มเพาะสันติวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นกับประชาชนในทุกระดับ และมุ่งเน้นแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างสังคมซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างจริงจัง ถ้าทำได้เช่นนี้ ผู้เขียนเชื่อว่า 'ความสุขและรอยยิ้มจะคืนกลับมาสู่สังคมไทยอย่างอย่างยั่งยืน'”
http://bit.ly/3oYBAHf
============
7. สื่อในความรุนแรงชายแดนใต้
— บัณฑิต ไกรวิจิตร
“ 'ความไม่สงบ' 'โจรใต้' 'ผู้ก่อการร้าย' 'การแบ่งแยกดินแดน' 'ผู้หลงผิด' และ 'แนวร่วม' ฯลฯ คำต่างๆ เหล่านี้ แผ่บรรยากาศอันน่าสะพรึงกลัว และทำให้เกิดการหวาดระแวง และเมื่อแผ่ขยายการปกคลุมอาณาเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เราผู้อาศัยในพื้นที่สามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกว่าถูกคุกคาม”
https://bit.ly/3889lie
============
8. การแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางการเมืองของไทย: พบทางตันจริงหรือ?
— สุพัตรา จิตตเสถียร
“ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ต้องถามใจตัวเองให้ชัดเจนว่า 'พวกท่านทั้งหลายรักชาติ รักแผ่นดินนี้ อย่างแท้จริง หรือไม่?' เพราะนั่นหมายถึง เราจะค้นหาทางออกที่เป็นจุดหมายร่วมกัน”
https://bit.ly/2WiuKjf
============
9. การเมืองของความขัดแย้งชายแดนใต้/ปาตานี: ทําความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงความเป็นการเมืองในห้วง 15 ปีของความรุนแรง
— รอมฎอน ปันจอร์
“เงื่อนไขพื้นฐานสําคัญของการแสวงหาทางออกทางการเมืองจากความขัดแย้งอย่างสันติก็คือการเปิดกว้างต่อบรรดาทางเลือกต่างๆ ที่จะเป็นไปได้ก็เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นประชาธิปไตยในความหมายที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออก เคลื่อนไหว และโต้แย้งกันอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งโดยตัวมันเองจะเป็นองค์ประกอบสําคัญในการสร้างความไว้วางใจไม่เพียงเฉพาะรัฐกับฝ่ายขบวนการต่อสู้เท่านั้น หากยังเป็นความไว้วางใจที่ผู้ปกครองจะได้รับจากผู้อยู่ใต้ปกครองด้วย”
https://bit.ly/2IOcXNO
============
10. บทบาทของท้องถิ่นกับการแก้ไขความรุนแรงทางสังคม
— วิชัย รูปขําดี
“ความรุนแรงสะท้อนความไม่มีสันติสุขในสังคม เป็นสังคมที่มีปัญหาเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรม การแก้ไขป้องกันต้องวิเคราะห์วางแผนบนพื้นฐานของความรู้ที่เพียงพอ มีนโยบายที่ถูกต้อง และมีกลไกนําไปสู่การขับเคลื่อนที่ทุกฝ่ายของสังคมร่วมมือกันอย่างเป็นเอกภาพ”
https://bit.ly/3gP91c9
============
สำหรับนักอ่านที่สนใจงานวิชาการทั้งด้านการเมือง รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา
ขอแนะนำชุดหนังสือที่น่าสนใจ
// Set ประวัติศาสตร์ความคิดในรัฐไทย //
// Set เรียนรู้การเมืองไทย //
// Set รื้อ-สร้าง และท้าทายทางความคิด //
// Set บทสรุปทางความคิดของนักคิดระดับโลก //
// Set เข้าใจการเมือง เข้าถึงประชาชน //
==============================
บทความที่คุณน่าจะชอบ
/ คณะราษฎร 2475 | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ รัฐประหารไทย | รวม 10 บทความสุดเข้ม /
/ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ ปรัชญาตะวันออก | โหลดฟรี 13 บทความ /
/ ราชาชาตินิยม | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ 20 หนังสือ อ่านเบิกเนตร /
/ ธงชัย วินิจจะกูล | อุตสาหกรรมแห่งความจงรักภักดี /
/ สัญลักษณ์คณะราษฎรที่หายไป...เราจะจดจำไว้ /
/ ธงชัย วินิจจะกูล | อำนาจของสาธารณชน จากบทกล่าวตามในหนังสือ 1984 /
/ 10 หนังสือสำหรับคน 'อยู่ไม่เป็น' /
==================
สำนักพิมพ์สมมติแจก Code ส่วนลด **จำนวนจำกัด**
ส่วนลด 100.- เพียงใส่ code READER100 | เมื่อช้อปครบ 900.-
ส่วนลด 200.- เพียงใส่ code READER200 | เมื่อช้อปครบ 1,500.-
พบกับ 'หนังสือดี ราคาโดน' ที่ 'ลดแล้ว ลดอีก' คัดเน้นๆ มาให้ผู้อ่านเลือกสรรกันอย่างครบรส ทุกหมวดหมู่จัดชุดหนังสืออย่างพิถีพิถัน มากกว่า 40 ชุด จากหนังสือกว่า 100 ปก ในราคาสุดพิเศษ
โปรดอย่ารอช้า หนังสือบางเล่มเหลือจำนวนจำกัด
หนังสือดี! ราคาโดน! ที่ผู้อ่านไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง!!!
คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/category/3755/special-set
26 ธ.ค. 2565
17 ต.ค. 2563
11 ม.ค. 2564