Last updated: 18 มี.ค. 2566 | 28934 จำนวนผู้เข้าชม |
...เปิดรับสมาชิกตลอดชีพรุ่นสาม...
ผ่อน 0 % เริ่มต้นเพียง 4,400 บาทต่อเดือน
#รับจำนวนจำกัดเหมือนเดิม
#ปรับราคาขึ้นตามปฏิจจสมุปบาท
#มีระบบผ่อนเหมือนสมาชิกสองรุ่นแรก
#ได้รับหนังสือทุกเล่มที่มีอยู่และจากนี้ตลอดไป
#มีสิทธิพิเศษอื่นอีกหลายอย่างที่มากกว่าเดิม ได้รับหนังสือทุกเล่มของสนพ.ที่มีอยู่และจากนี้ตลอดไป เมื่อชำระครบถ้วนได้รับหนังสือทันที
รายละเอียดคลิก คำประกาศความรู้สึกและจินตนาการใหม่ในการทำสำนักพิมพ์
====================
เราอ่านหนังสือไปเพื่ออะไร? เราได้อะไรจากการอ่าน?
หลายคนอาจตอบว่า อ่านเพื่อหาความรู้ อ่านหนังสือแล้วสนุก อ่านเพราะจำเป็น (เช่น หนังสือเรียนที่อ่านเพราะต้องสอบ) แต่นอกเหนือเหตุผลข้างต้น การอ่านยังมอบคุณค่าบางอย่างให้แก่เรา การเข้าสู่โลกแห่งตัวหนังสือได้มอบสิ่งล้ำค่าและลึกซึ้งกว่านั้น!
“Reading make a full man" --- Francis Bacon
ประโยคอมตะของ เซอร์ฟรานซิส เบคอน ที่สะท้อนถึงความสำคัญและพลังของการอ่าน การอ่านเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนเรารับรู้และเข้าใจในความหมายของสิ่งต่างๆ บนโลก นำพาเราท่องไปในดินแดนที่ไม่เคยไป ทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ หนังสือก็เป็นเหมือนกับอาณาจักรแห่งความรู้และความคิดซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด
การอ่านเปรียบเสมือนกระจกส่องตัวเรา และยังฉายภาพเสมือนของเพื่อนมนุษย์ เราจีงมีโอกาสครุ่นคิดและทำเข้าใจตัวเอง มากไปกว่านั้นยังเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เองที่เติมเต็มความสมบูรณ์ของมนุษย์อย่างที่ ฟรานซิส เบคอน ว่าไว้
เรียนรู้จากการอ่าน - มีความคิดเฉียบคมขึ้น / จัดระบบความคิดได้ดีขึ้น
Maryanne Wolf ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้หรือการอ่าน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านและพัฒนาการของมนุษย์ในผลงาน Reader, Come Home ไว้ว่า 'การเรียนรู้จากการอ่าน' ช่วยเพิ่มวงจรประสาท (Neuron Circuit) ในสมองของมนุษย์ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือแต่ละเล่มจะค่อยๆ ถูกเก็บสะสมและเชื่อมต่อกันเป็นวงจรในระบบประสาทของเรา
กระบวนการข้างต้นทำให้เราจัดระบบความคิดของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งสิ่งที่อ่านมีเนื้อหาลึกซึ้งหรือซับซ้อนมากขึ้นเท่าไหร่ คลังข้อมูลและทักษะการเชื่อมโยงความคิดก็จะยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่านั้น อย่างที่เขาว่ากันว่า การอ่านช่วยลับคมความคิดให้แหลมคมมากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่เราอ่านจึงสัมพันธ์กับวิธีคิดของเราจนแทบจะแยกกันไม่ออก
การอ่านคือความสำเร็จในกระบวนการเหนือพันธุกรรมของมนุษย์
"...มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่ออ่าน แต่ความสามารถในการอ่านคือหนึ่งในความสำเร็จของกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่พบในสายพันธุ์ Homo Sapiens เท่านั้น..." ประโยคกล่าวนำในบทแรกของหนังสือ Proust and the Squid: The Story and Science of the Reading Brain เขียนโดย Maryanne Wolf ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) ผู้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการอ่านเขียนของเด็ก
Maryanne อธิบายไว้ในหนังสือว่า "...การอ่านเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มนุษย์ค้นพบขึ้นภายหลัง และต้องอาศัยการพัฒนาด้วยตนเองอยู่ตลอด ต่างกับการพูดหรือการมองเห็นซึ่งเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่จะค่อยๆ พัฒนาขึ้นเอง วิวัฒนาการของการอ่านจึงถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จของมนุษย์..."
ดำดิ่งไปในโลกแห่งวรรณกรรม
หนังสือต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมคลาสสิค เชื่อมต่อความคิดของเรากับโลกแห่งจินตนาการโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว Maryanne เล่าถึงการเดินทางของเธอโดยการอ่านวรรณกรรมว่า ตั้งแต่วัยเด็ก เธอไม่คิดว่าจะต้องอ่านหนังสือเล่มไหนหรือแบบใดเป็นพิเศษ เธอเพียงปล่อยให้ตัวเอง 'ดำดิ่งเข้าไปสู่โลกของวรรณกรรม' เหมือนกับอลิซที่กระโจนเข้าไปในดินแดนมหัศจรรย์ (Alice's Adventures in Wonderland)
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เธอเริ่มอ่านวรรณกรรมที่ลึกซึ้งกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นบทกวี Duino Elegies โดย Rainer Maria Rilke หรือ นวนิยายคลาสสิคอย่าง Middlemarch โดย George Eliot นักประพันธ์หญิงแห่งศตวรรษที่ 19 และเธอก็ได้ค้นพบว่า ความคิดของเธอต่อสิ่งรอบตัวได้เปลี่ยนไปตามสิ่งที่ตกตะกอนจากการอ่านวรรณกรรมเหล่านี้
โลกแห่งวรรณกรรมได้พาเธอไปทำความเข้าใจกับความซับซ้อนวุ่นวายของโลกใบนี้ และได้สัมผัสรับรู้ความเป็นมนุษย์ที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นผ่านเรื่องราวของตัวละคร 'ความอ่อนโยนและความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์' คือสิ่งที่เธอได้ซึบซับจากการอ่านวรรณกรรม สิ่งเหล่านี้ทำให้ Maryanne ตระหนักถึงพลังของการอ่าน และตั้งใจที่จะส่งต่อความรู้สึกนี้ไปให้ผู้อื่น เธอตัดสินใจเริ่มต้นเส้นทางอาชีพอาจารย์โดยเริ่มจากการเป็นครูอาสาในพื้นที่ชนบท ด้วยความหวังที่จะเติมเต็มความเป็นคนโดยสมบูรณ์ให้กับเด็กด้อยโอกาสผ่าน ‘การอ่าน’
วรรณกรรมคือ 'เครื่องจำลองทางความคิด' หรือ 'ขอบฟ้าเหตุการณ์สมมติทางความคิด'
ตัวละครในหนังสือก็ไม่ต่างอะไรกับคนทั่วไป อาจจะต่างแค่ยุคสมัยเท่านั้น แต่โดยเนื้อแท้แล้วเราเองเป็นเพียงมนุษย์เช่นเดิม ในหนังสือเราได้พบกับทั้งเรื่องสุขและเรื่องเศร้า ตัวละครเหล่านี้นำเราไปสู่ห้วงเวลาส่วนตัวที่ไม่อนุญาตให้ใครคนอื่นเข้ามา นอกจากตัวคุณเอง
อริสโตเติลเคยกล่าวไว้ว่า เมื่อเราเผชิญกับโศกนาฏกรรม ความรู้สึกสองอย่างจะเกิดกับเรา นั่นคือ 'ความสงสาร' (ที่มีต่อตัวละคร) และ 'ความกลัว' (ที่เกิดกับตัวเรา) เราจะเปรียบเทียบการกระทำของตัวละครกับประสบการณ์ในอดีตของเรา และจินตนาการไปถึงอนาคตด้วยว่า เราจะทำอย่างไรหากอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว
พูดให้ชัดกว่านั้น วรรณกรรมคือ 'เครื่องจำลองทางความคิด' (mind's flight simulator) ตามที่ Keith Oatley นักจิตวิทยาชาวแคนาดาพูดไว้ หรือในภาษาของเราที่เรียกวรรณกรรมว่าเป็น 'ขอบฟ้าเหตุการณ์สมมติทางความคิด' แม้ว่าแบบจำลองนี้จะเหมือนการเดินทางอยู่กับที่ (เช่น นักบินที่ฝึกบินโดยใช้เครื่องจำลอง) ทว่าการอ่านวรรณกรรมกลับพัฒนาความคิดและจิตใจผ่านอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผู้อ่าน...และนั่นคือคำตอบหนึ่งของคำถามที่ว่า "เราอ่านหนังสือเพื่ออะไร"
บทความเกี่ยวการอ่านที่คุณน่าจะชอบ
แนะนำ 50 หนังสือต้องไม่พลาด
แนะนำ —• The Alphabet Book Café •— พื้นที่เฉพาะในแนวทางที่ชัดเจนของสำนักพิมพ์สมมติ แม้มันจะไม่หวือหวา ไม่ชิค ไม่คูล และไม่อะไรอีกหลายอย่างตามคาเฟ่สมัยนิยม
แต่มันเป็นพื้นที่เฉพาะที่พร้อมเปิดต้อนรับทุกคนที่ชื่นชอบวรรณกรรมและบรรยากาศของการดื่มกาแฟ
—• The Alphabet Book Café •— คงเป็นเหมือนที่ เคท โชแปง (Kate Chopin) เขียนไว้ใน The Awakening วรรณกรรมเล่มสำคัญของเธอว่า
❝...มันเป็นสถานที่ที่เล็กและธรรมดาเกินไปสำหรับคนในแวดวงสังคมชั้นสูง และก็เงียบเกินไปสำหรับผู้ที่โปรดปรานแสงสีและเสียงอึกทึกแห่งอารยธรรมสมัยใหม่...❞
—
Project: The Alphabet Book Café
Architect: Twist Kongpila
Landscape & Interior: SM Studio
Contractor: MR.Korn
Inspired by All dear Readers
คลิกอ่านเพิ่มเติม
จาก • สมมติ Book Café •
สู่ —• The Alphabet Book Café •—
--------------------------
Google Maps
https://goo.gl/maps/NapQ2mpku3Nv9s8i9-
เปิดร้าน พฤหัสฯ - จันทร์ / 10.00 - 20.00 น.
ใกล้ Paseo Park กาญจนาภิเษก / สมาคมชาวปักษ์ใต้ / พุทธมณฑลสายสอง
ตำแหน่งร้าน : ซอยสุขาภิบาลบางระมาด 5/1 ถนนสุขาภิบาลบางระมาด แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ
Follow Us
Instagram : @alphabetbookcafe.bkk
Line@ : Alphabet BookCafé
26 ธ.ค. 2565
17 ต.ค. 2563
11 ม.ค. 2564