ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ | ท่องเที่ยวไทยหลังโรคระบาด

Last updated: 6 ส.ค. 2564  |  2437 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ

ก่อนหน้าวิกฤตการณ์โควิด-19 ไม่มีใครเชื่อว่าอุตสาหกรรมภาคบริการที่แข็งแกร่งที่สุดอย่างการท่องเที่ยวจะพบกับบททดสอบที่โหดร้ายเช่นนี้ การถูกดิสรัปต์เป็นประเด็นทางธุรกิจที่พูดกันอย่างหนาหูในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กลายเป็นสิ่งที่ธุรกิจท่องเที่ยวกำลังเผชิญผ่านปฏิบัติการของไวรัสชนิดใหม่ ความหวาดระแวง และการควบคุมของรัฐ

สารคดี The Vietnam War ของ เคน เบิร์นส์ (Ken Burns) และ ลินน์ โนวิค (Lyn Novick) ออกฉายเมื่อปี พ.ศ.2560 ภาพยนตร์สารคดีชิ้นนี้ย้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์บาดแผลของชาวอเมริกัน และบาดแผลที่สร้างให้แก่ชาวเวียดนามที่คนอเมริกันไม่อยากจะพูดถึง บางส่วนเสี้ยวของสารคดีแสดงให้เห็นอิทธิพลของอเมริกันที่ทำให้เวียดนามใต้ เขตคุ้มครองของสหรัฐอเมริกา ได้รับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และบางส่วนได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวมาจนถึงปัจจุบัน หนังสือที่ท่านถืออยู่ในมือนี้จะชี้ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับอานิสงส์ครั้งนั้นเช่นกัน การอัดฉีดงบประมาณมหาศาลเข้าสู่ภูมิภาคของสหรัฐอเมริกา ส่งผลโดยตรงต่อการใช้จ่ายของทหารอเมริกันที่ประจำอยู่ในไทย

นับแต่นั้น การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างความมั่งคั่งให้กับสังคมไทยมหาศาล แต่ในทางกลับกัน การถอนทหารอเมริกันออกจากภูมิภาค ก็ทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยว และการบันเทิงสั่นสะเทือนเป็นอย่างยิ่ง ย่านสถานบันเทิงและภาคบริการในเมืองใหญ่บางแห่งได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น อุดรธานี, ตาคลี นครสวรรค์ ส่งผลต่อการท่องเที่ยวในไทยที่ค่อยๆ ปรับตัวไปสู่อีกทิศทางหนึ่งที่ไม่ใช่เพียงรับใช้ทหารอเมริกันเท่านั้น

..,

หากนับเฉพาะตัวเลข สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากโควิด-19 ประเมินว่า หากสถานการณ์คลี่คลายภายใน 6 เดือน ไทยจะสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 7 แสนล้านบาท นักท่องเที่ยวต่างชาติจะลดลงกว่า 13 ล้านคน  นับเป็นร้อยละ  33  จากปีก่อน

รัฐบาลตระหนักดีถึงปัญหาดังกล่าว จึงออกนโยบายสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวนั่นคือ โครงการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration: SHA) ที่ ททท. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬา กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และออกตราสัญลักษณ์ SHA สำหรับผู้ประกอบการไทย หรือการออกแคมเปญชวนคนไทยเที่ยวไทย ในโครงการ ‘เที่ยวปันสุข’ โดยชื่อก็เห็นได้ไม่ยากว่าล้อจาก ‘ตู้ปันสุข’ ที่เคยโด่งดังในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563 ภายในโครงการนี้ยังแบ่งเป็นโครงการย่อยคือ ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ สำหรับประชาชนทั่วไป และ ‘กำลังใจ’ ที่ถือว่าเป็นสวัสดิการให้กำลังใจแด่บุคลากรทางการแพทย์อย่างเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) ที่เหน็ดเหนื่อยมาจากช่วงโควิด-19

จะเห็นได้ว่า กระแสธารของความรู้ดังกล่าวจึงเป็นการตอบโต้กันระหว่างนักธุรกิจ รัฐบาล และนักท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่เรากลับไม่ค่อยพบการศึกษาข้อมูลเชิงคุณลักษณะของชีวิตคนจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวนั้นมีชีวิตอยู่อย่างไร เสียงของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก แรงงานที่อยู่ในกิจการนั้น คล้ายกับเป็นเพียงองค์ประกอบย่อยๆ ที่ไม่สลักสำคัญอะไร เช่นเดียวกับภาพจำลองความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยที่ดำรงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งสามัญชนและคนเบื้องล่างไม่ได้รับการเหลียวแลอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากเชื่อว่าหากบริษัทท่องเที่ยวรอด ผู้ประกอบการระดับใหญ่รอด จะสามารถโอบอุ้มธุรกิจท่องเที่ยวและแรงงานท่องเที่ยวได้ ซึ่งในความเป็นจริงอาจไม่ใช่เป็นเช่นนั้นเสมอไป

ในที่สุด ความบอบช้ำของการท่องเที่ยวไทยอาจค่อยๆ ฟื้นคืนกลับมาจากการช็อกแบบเดียวกับช่วงที่สหรัฐอเมริกาถอนทหารออกไป ความมั่งคั่งของกลุ่มธุรกิจดังกล่าวอาจเฟื่องฟูยิ่งกว่าเดิมในหลายปีข้างหน้าก็เป็นได้ เพียงแต่หายนะได้เกิดขึ้นแล้วกับคนมหาศาลที่อาจไม่สามารถอยู่ได้กับ New Normal ของการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก และแรงงานภาคบริการ


แม้เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จะจบลงที่รัฐประหาร 2549 แต่ประเด็นสำคัญของผู้เขียนคือ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของการท่องเที่ยวที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยผ่านสถานภาพของชนชั้นในสังคม อำนาจเป็นตัวกำหนดความสามารถในการเดินทางและเข้าถึงสถานที่ต่างๆ หรือเรียกได้ว่า ยิ่งมีอำนาจเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ไกลและทั่วถึงเท่านั้น ในสถานการณ์โรคระบาดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาแสดงให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนถึงอำนาจดังกล่าวว่า การท่องเที่ยวไปในแดนต่างๆ นั้น สะท้อนให้เห็นพลานุภาพของอำนาจทางการเมืองอย่างไร


บางส่วนจาก บทกล่าวนำ : การท่องเที่ยวหลังโรคระบาด ความพังพินาศของสามัญชนกับทางรอดเศรษฐกิจไทย

โดย ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

...

อ่านกันแบบเต็มๆ สั่งซื้อคลิก ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ - ว่าด้วยการท่องเที่ยว ในฐานะมรดกแห่งการสร้างชาติของรัฐไทย จากรัฐจารีต สงครามเวียดนาม สู่ยุครัฐประหาร 2549 (On Thai Tourism) 

-- หนึ่งในชุดหนังสือ ประวัติศาสตร์ความคิดในรัฐไทย --






สั่งซื้อยกหนังสือ ชุดประวัติศาสตร์ความคิดในรัฐไทย

============


สำหรับนักอ่านที่สนใจงานวิชาการทั้งด้านการเมือง รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา


ขอแนะนำชุดหนังสือที่น่าสนใจ

// Set เรียนรู้การเมืองไทย //
// Set รื้อ-สร้าง และท้าทายทางความคิด //
// Set บทสรุปทางความคิดของนักคิดระดับโลก //
// Set เข้าใจการเมือง เข้าถึงประชาชน // 

==============================

บทความที่คุณน่าจะชอบ

คณะราษฎร 2475 | โหลดฟรี 10 บทความ /

รัฐประหารไทย | รวม 10 บทความสุดเข้ม /
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | โหลดฟรี 10 บทความ / 
ปรัชญาตะวันออก | โหลดฟรี 13 บทความ /
ราชาชาตินิยม | โหลดฟรี 10 บทความ /
20 หนังสือ อ่านเบิกเนตร /
ธงชัย  วินิจจะกูล | อุตสาหกรรมแห่งความจงรักภักดี /
สัญลักษณ์คณะราษฎรที่หายไป...เราจะจดจำไว้ /
ธงชัย  วินิจจะกูล | อำนาจของสาธารณชน จากบทกล่าวตามในหนังสือ 1984 /
/ 10 หนังสือสำหรับคน 'อยู่ไม่เป็น' /

==================

เสื้อยืดแนะนำสำหรับราษฎรทั้งหลาย ราคาเดียวกัน

1. เสื้อศรัทธา




2. เสื้อคณะราษฎร





3. เสื้อยืด 2475  | 
สกรีนลาย 2475 : Democracy Dies [?] 




4. เสื้อยืด The Code 

= = รุ่นนี้มีตำหนิ บางตัวเลขหาย?! = =




Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้