จิตใต้สำนึกคืออะไร | ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตวิเคราะห์

Last updated: 6 ส.ค. 2564  |  20833 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จิตใต้สำนึกคืออะไร | ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตวิเคราะห์

“ผมคือบ้าน ในตัวผมมืดสนิท การรับรู้ของผมมีเพียงดวงไฟ เทียนเล่มหนึ่งในกระแสลม มันวาบไหว อยู่ในจุดนั้น อยู่ในจุดนี้ 

ทุกอย่างที่เหลือ…อยู่ในเงามืด ทุกอย่างที่เหลือ…อยู่ในจิตใต้สำนึก แต่พวกมันมีอยู่ ห้องอื่น ๆ ช่องเว้า ทางเดิน บันได ประตู 

ในทุกเวลา ทุกอย่างที่อยู่ในตัวคุณ ร่อนเร่ในตัวคุณ มันอยู่ในนั้น มันทำงาน มันมีชีวิต ภายในบ้านที่เป็นตัวผม สัญชาตญาณ 

ความต้องการ สิ่งต้องห้าม ความคิดต้องห้าม ความปรารถนาต้องห้าม ความทรงจำที่เราไม่อยากเห็น ที่เราผลักไสมันออกไป 

พวกมันเต้นรำรอบตัวเราในความมืด พวกมันทรมานเรา ยุแหย่เรา พวกมันหลอกหลอน กระซิบใส่เรา พวกมันขู่เรา...พวกมันทำให้เราป่วย”

------ FREUD Netflix Series


จิตใต้สำนึก (Subconscious) หรือจิตไร้สำนึกก็ว่า เป็นคำที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันจนเป็นปกติ บ้างว่า “ทำตัวแบบนี้ มีจิตสำนึกรึเปล่า” หรือบ้างก็ว่า “ที่ทำแบบนี้คงมาจากจิตใต้สำนึกสินะ!” จริงๆ แล้วคำคำนี้เกิดขึ้นแค่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เท่านั้นเอง

คำที่เราใช้พูดกันนี้มาจากนักคิดสำคัญของยุโรปอย่าง ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักประสาทวิทยาแห่งกรุงเวียนนา, ออสเตรีย คำดังกล่าวนี้ก็มาจากงานศึกษาชิ้นสำคัญของเขาคือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ที่เขาพยามยามอธิบายอาการป่วยที่ไม่สามารถวินิจฉัยสาเหตุทางกายได้ ว่าเกิดมาจากการป่วยทางจิต

ฟรอยด์อธิบาย 'จิตใต้สำนึก' ว่าเป็นสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของเรา เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถรับรู้ถึงความมีอยู่ของมันได้ อาจเป็นสัญชาตญาณบางอย่าง ความหิว แรงขับทางเพศ ความกลัว สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคนไข้ของเขาที่เลือกที่จะลืมหรือจำบางสิ่ง เพราะเกิด การเก็บกดลงสู่จิตใต้สำนึก (Repression) 

ฟรอยด์นำแนวคิดข้างต้นไปพัฒนาทฤษฎีของเขาจนเกิดกลุ่มศัพท์ใหม่ในวงการศึกษาจิตวิทยา ไม่ว่าจะเป็น อิท (Id) อีโก้ (Ego) และ ซูเปอร์อีโก้ (Super Ego) อย่างไรก็ตาม ความคิดของฟรอยด์ก็ยังเป็นที่ถกเถียงในหลายประเด็น เขาเคยถูกเสนอชื่อชิงโนเบลสาขาวิทยาศาสตร์หลายครั้ง แต่กลับได้ Goethe Prize ที่เป็นรางวัลวรรณกรรมแทน 

ต่อมาแนวคิดของฟรอยด์ได้ถูกนักวรรณคดีนำไปประยุกต์เพื่อใช้ในการศึกษาวรรณกรรมจนเกิด “การวิจารณ์ตามแนวจิตวิเคราะห์” โดยนำมาพิจารณาสัญลักษณ์ บทบาททางเพศ หรือการกระทำของตัวละครในวรรณกรรมเรื่องนั้นๆ 


..,

อ้างอิง

คมชัดลึก. (2560). วันนี้ในอดีต...6 พ.ค. วันเกิด ‘ซิกมันด์ ฟรอยด์’ บิดาจิตวิทยา. [ออนไลน์].
สืบค้นจาก: https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/275438

เชพพาร์ด, อาร์. (2563). ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตวิเคราะห์. (พฤติ กาฬสุวรรณ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ยิปซี. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 2019)
...

แนะนำหนังสือที่ตีความศิลปะและวรรณกรรมผ่านแนวคิดจิตวิเคราะห์

สั่งซื้อคลิก เรื่องใต้บรรทัด โดย พิริยะดิศ มานิตย์ 







คลิกสั่งซื้อ Set วรรณกรรมวิจารณ์ ราคาสุดพิเศษ + กระเป๋าผ้า



============


สำหรับนักอ่านที่สนใจงานวิชาการทั้งด้านการเมือง รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา


ขอแนะนำชุดหนังสือที่น่าสนใจ

// Set เรียนรู้การเมืองไทย //
// Set รื้อ-สร้าง และท้าทายทางความคิด //
// Set บทสรุปทางความคิดของนักคิดระดับโลก //
// Set เข้าใจการเมือง เข้าถึงประชาชน // 
==============================

บทความที่คุณน่าจะชอบ

คณะราษฎร 2475 | โหลดฟรี 10 บทความ /

รัฐประหารไทย | รวม 10 บทความสุดเข้ม /
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | โหลดฟรี 10 บทความ / 
ปรัชญาตะวันออก | โหลดฟรี 13 บทความ /
ราชาชาตินิยม | โหลดฟรี 10 บทความ /
20 หนังสือ อ่านเบิกเนตร /
ธงชัย  วินิจจะกูล | อุตสาหกรรมแห่งความจงรักภักดี /
สัญลักษณ์คณะราษฎรที่หายไป...เราจะจดจำไว้ /
ธงชัย  วินิจจะกูล | อำนาจของสาธารณชน จากบทกล่าวตามในหนังสือ 1984 /
/ 10 หนังสือสำหรับคน 'อยู่ไม่เป็น' /

==================

เสื้อยืดแนะนำสำหรับราษฎรทั้งหลาย ราคาเดียวกัน

1. เสื้อศรัทธา




2. เสื้อคณะราษฎร





3. เสื้อยืด 2475  | 
สกรีนลาย 2475 : Democracy Dies [?] 




4. เสื้อยืด The Code 

= = รุ่นนี้มีตำหนิ บางตัวเลขหาย?! = =




Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้