การสร้างภาพตัวแทนคืออะไร? | บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

Last updated: 1 พ.ค. 2565  |  2794 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การสร้างภาพตัวแทนคืออะไร? | บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

ในแง่มุมของการสร้างภาพตัวแทนในแนวทางสะท้อนความหมาย (reflective approach or mimetic approach) ที่เชื่อว่าความหมายนั้นก็คือความคิดที่อยู่ในตัววัตถุ บุคคล ความคิด หรือปรากฏการณ์ในโลกของความเป็นจริง ดังนั้นภาษาจึงทำหน้าที่เป็นกระจกเพื่อที่จะสะท้อนความหมายที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในโลก

แนวทางที่สอง คือแนวทางภาพตัวแทนแบบเฉพาะเจาะจง (intentional approach) ต่างไปจากแนวทางแรกโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ ภาษาไม่ได้สะท้อนความจริง แต่ภาษาเป็นสิ่งที่ผู้พูด ผู้เขียน กำกับความหมายหนึ่งๆ ในโลก ผ่านภาษา กล่าวคือ ปัจเจกชนเป็นผู้ใช้ภาษาเพื่อส่งหรือใช้สื่อความหมาย สื่อสาร ที่พิเศษเป็นการเฉพาะตามแนวทางที่พวกเขาเห็นโลกแต่ขณะเดียวกันเมื่อภาษาเป็นตัวแทนสะท้อนความคิดและความจริงในโลก ก็เป็นไปไม่ได้ที่ผู้พูด ผู้คิด ผู้เขียน จะสื่อสิ่งที่เขาคิดผ่านภาษา เพราะภาษาเป็นเรื่องการใช้ความหมายร่วมกัน ดังนั้น ถึงเขาจะสื่อความหมายเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่ก็ยังต้องอยู่ภายใต้กฎของภาษา รหัส  และจารีตการใช้ภาษาอยู่ดี

แนวทางที่สาม คือแนวทางภาพตัวแทนแบบสร้างความหมาย (constructionist approach) ที่เห็นว่าไม่มีสิ่งใดที่มีความหมายโดยตัวมันเองหรือมีปัจเจกบุคคลผู้ใดที่สามารถหยุดและกำกับความหมายเอาไว้ได้ สิ่งต่างๆ ล้วนไม่มีความหมายโดยตัวมันเอง นอกจาก ‘เรา’ จะสร้างความหมายผ่านระบบภาพตัวแทน คือ สัญญะ/ตัวหมาย และความคิดรวบยอด (concept) แนวทางนี้ไม่ปฏิเสธโลกทางวัตถุ แต่โลกทางวัตถุไม่ได้กำหนดความหมาย หากแต่เป็นระบบภาษา หรือระบบใดๆ ที่เราใช้สื่อความหมายจนกระทั่งตัวผู้กระทำการทางสังคม (social actor) ที่ใช้ระบบความคิดรวบยอดในวัฒนธรรมของตัวเอง เพื่อทำให้โลกมีความหมายและสื่อสารเกี่ยวกับโลกที่เต็มไปด้วยความหมายนั้นให้กับคนอื่นๆ



แนวทางของภาพตัวแทนทั้งสามแนวทาง ช่วยให้เราเข้าใจความหมายในระดับต่างๆ ที่ผ่านระบบสัญญะของภาษาและความหมายที่ประกอบกันเช่น สัญญาณไฟจราจรเป็นภาษาร่วมกันที่ใช้รหัสสีแทนความหมาย สีแดงหมายถึงให้หยุด สีเหลืองหมายถึงระวัง และสีเขียวหมายถึงผ่านได้ต่างเป็นภาษาที่ข้ามวัฒนธรรม ข้ามภาษาต่างๆ เท่ากับว่ารหัสไฟสีต่างๆ บนเสาสัญญาณสามารถสื่อความหมาย โดยมีสีเป็นสัญญะหรือตัวหมายที่มีตำแหน่งแห่งที่ในทางวัฒนธรรม จัดเรียงอยู่ในใจของเราว่าสีแต่ละสีทำหน้าที่สื่อความหมายบางประการตามแต่ความเข้าใจในระบบของวัฒนธรรมภาษาต่างๆ และในชั้นที่สองคือ กับบรรดาคำหรือภาพของภาษาความหมายมีความสัมพันธ์กับสีต่างๆ ในภาษาของเราอย่างไร

ความสัมพันธ์ดังกล่าวเมื่อเป็นสากลก็จะเป็นภาษาที่เข้าใจร่วมกันของคนในโลก สีกลายมาเป็นภาษารหัส (linguistic color-codes) ของสัญญาณไฟจราจร และมีการจัดเรียงลำดับของความหมายและสี ทำให้สีดังกล่าวสามารถนำพาความหมายไปกับมันทุกหนแห่งบนชุดสัญญาณไฟจราจร

..,
 
บางส่วนจาก ระบบของภาพตัวแทนและความหมาย โดย บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

ในเล่ม การเมืองทัศนา
ว่าด้วย การเมือง อำนาจ ศิลปะ และการมองเห็น —สู่ความหมายทางวัฒนธรรม



โดย บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
=====

สั่งซื้อยกเซ็ต หนังสือศิลปะเด็กอาร์ตต้องอ่าน

หรือ

คลิกสั่งซื้อยกชุด 4 เล่มรอบ มี.ค. 2565 เราจัดให้ราคาพิเศษเท่าที่เคารพต่อราคาบนปกหนังสือ

1. การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475:
ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปรสำนึก จากกษัตริย์ สู่ชนชั้นนำ ถึงปัจเจกชนและสามัญชน
●— อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
450 บาท


2. การเมืองทัศนา: ว่าด้วยการเมือง อำนาจ ศิลปะ และการมองเห็น สู่ความหมายทางวัฒนธรรม
●— บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
350 บาท


3. ประเทศไร้ทรงจำ
●— รวมบทกวีแสบทรวง โดย รอนฝัน ตะวันเศร้า
200 บาท

4. เกดในเคิร์มแลนด์
●— วรรณกรรมแปร่งลิ้นรสขม โดย วิภาส ศรีทอง
200 บาท

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้