On This Day | ริวโนะสุเกะ อะคุตะงะวะ (Ryūnosuke Akutagawa)

Last updated: 24 ก.ค. 2565  |  911 จำนวนผู้เข้าชม  | 

On This Day | ริวโนะสุเกะ อะคุตะงะวะ (Ryūnosuke Akutagawa)

On This Day : Ryūnosuke Akutagawa

วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ.1892 | ริวโนะสุเกะ อะคุตะงะวะ เกิดที่โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น

......

วันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.1927 | โลกได้สูญเสีย 'ราชาเรื่องสั้น' ริวโนะสุเกะ อะคุตะงะวะ

ผู้เขียน ราโชมอน และเรื่องสั้นอื่นๆ (Rashomon and Other Stories) และ ความจงรักภักดี และเรื่องสั้นอื่นๆ (Loyalty and Other Stories) 


"...ผมอยู่ในโลกอันเยือกเย็นที่เต็มไปด้วยความพะว้าพะวังที่รันทดท้อ..." 
เขา...เปรยไว้ก่อนที่จะจากโลกไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ

ราวกับว่านักประพันธ์ผู้นี้ถูกกำหนดมาให้เขียนหนังสือได้ 'ลุ่มลึก' และ 'หวาดผวา' โดยใช้จ่ายด้วย 'ความปวดร้าว' ที่เขาต้องพบเผชิญ

นักประพันธ์ชาวญี่ปุ่นที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น 'ราชาเรื่องสั้น' คนนี้ ชื่อว่า ริวโนะสุเกะ อะคุตะงะวะ (Ryūnosuke Akutagawa)

ถ้าจะให้คุ้นเคยยิ่งขึ้น อะคุตะงะวะคือผู้เขียนเรื่องสั้น 'ราโชมอน' และ 'ในป่าละเมาะ' อันโด่งดังในสายธารวรรณกรรมนั่นเอง แนวทางการเขียนเรื่องสั้นแปลกประหลาดของเขาสั่นสะท้านอารมณ์ของคนอ่านจนไม่อาจลืมลง!

ความน่ากลัว สยองขวัญ ประกอบกับปรากฏการณ์เหนือจริง อีกทั้งตัวละครหลักในหลายเรื่องก็เป็นคนบ้าหรือวิกลจริต สิ่งต่างๆ ข้างต้นคือเอกลักษณ์ของอะคุตะงะวะอย่างไม่มีข้อกังขา และหากมองไปยังวรรณกรรมต่างประเทศ งานเขียนลักษณะนี้เทียบได้กับเรื่องสั้นของนักเขียนในโลกตะวันตกอีกคนหนึ่ง...นั่นคือ เอ็ดการ์ อัลแลน โพ (Edgar Allan Poe: 1809 - 1849)

เรื่องสั้นของทั้งอะคุตะงะวะและโพ ที่แม้ 'ความแปลกประหลาด' จะชวนสนุกในเบื้องต้น แต่กลับไม่ 'ประนีประนอม' ต่อความรู้สึกผู้อ่านเลยแม้แต่น้อย ทำให้พวกเขายืนหยัดอย่างโดดเด่นและไม่อาจมีใครโค่นลงได้

ฮารุกิ มุราคามิ กล่าวถึงอะคุตะงะวะไว้ว่า "ไม่มีใครเบื่อหน่ายเมื่อต้องอ่านงานเขียนของอะคุตะงะวะซ้ำแล้วซ้ำเล่า อะคุตะงะวะคือผู้ที่เกิดมาเป็นนักเขียนเรื่องสั้นอย่างแท้จริง"

สิ่งที่ทำให้เรื่องสั้นหลายๆ เรื่องยังถูกพูดถึงนับจนวันนี้ก็คือ ประเด็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ 'ความรัก' และ 'ความรู้สึกผิด' ซึ่งล้วนก่อให้เกิดข้อขัดแย้ง ความเข้าใจผิด ความไม่แน่นอน และความไร้เหตุผลอย่างที่สุด!

กล่าวได้ว่า มนุษย์ทุกชีวิตไม่อาจหนีสิ่งเหล่านี้ได้พ้นถ้าเขาคนนั้นยังต้องปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่น 'น้ำหนักของความรวดร้าวที่เกิดขึ้นกับตัวละคร' กับ 'น้ำหนักของความเจ็บปวดที่ผู้อ่านได้รับ'...สิ่งใดมากกว่ากัน

คลิกเพื่อเลือกดู หนังสือและอ่านบทความอื่นๆ ของอะคุตะงะวะ 



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้