Last updated: 29 ก.ค. 2564 | 3386 จำนวนผู้เข้าชม |
บทประพันธ์ของคาฟคาเป็นที่เลื่องลือว่าซับซ้อนลึกซึ้ง การพยายามเข้าใจและตีความงานคาฟคา มักควบคู่กับการใช้แนวคิดทฤษฎีจากสาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวรรณกรรมวิจารณ์ ปรัชญา จิตวิทยา ฯลฯ ประกอบกัน ส่งผลให้คาฟคาได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่และเข้าใจยากยิ่งที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 จะว่าเขาเขียนเรื่องในรูปสัญลักษณ์ (symbolical narrative) หรือเขียนเพื่อสื่อความคิดนามธรรมด้วยเรื่องราวรูปธรรม (allegory) ก็ไม่ใช่ จะว่าเขาเขียนเรื่องเหนือจริงด้วยแนวจำลองความจริงก็ไม่เชิง หรือข้อเขียนเขาเป็นปริศนาธรรมที่อิงล้อกับศรัทธาความเชื่อของศาสนายิวก็อาจเป็นไปได้ แต่มีบางคนเชื่อว่าไม่เกี่ยว หรือยิ่งไปกว่านั้น แนววรรณศิลป์ของเขาอาจไม่อยู่ในกรอบทฤษฎีวิจารณ์วรรณกรรมที่มีอยู่ก็ได้
แต่เรื่องนี้อยู่นอกเหนือความรู้ความเข้าใจของผู้เขียนที่จะพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำ ประเด็นที่อาจกล่าวได้อย่างค่อนข้างมั่นใจกว่าคือ การทำความเข้าใจคาฟคาคงดำเนินต่อไปอย่างไม่รู้จบ จึงไม่น่าประหลาดใจว่าผู้ศึกษาคาฟคาเป็นอาชีพรายหนึ่งประมาณการว่า มีงานวิชาการที่วิเคราะห์ผลงานของคาฟคาและชีวประวัติที่ตีพิมพ์แล้วมากกว่า 10,000 ชิ้น และวิทยานิพนธ์ปริญญาระดับเอกเกี่ยวกับคาฟคานับหลายร้อย คาดว่าน่าจะถึง 1,000 เล่ม ในเชิงปริมาณนี้ คาฟคาเป็นรองแต่เพียงเชคสเปียร์เท่านั้น
คาฟคาคงเป็นงานตัวอย่างที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้นิยมแนวอ่านวรรณกรรมที่เสนอให้อ่านลึก อ่านเลยไปกว่าตัวบทที่ปรากฏอยู่ ผู้อ่านจะไม่อ่านเพียง ‘อ่านเอาเรื่อง’ เฉยๆ หรือเพียง ‘ตีความ’ รหัส สัญลักษณ์ ความประสงค์ของผู้เขียน ฯลฯ เฉกเช่นแนววรรณกรรมศึกษาดั้งเดิมเพราะจะทำให้งานของคาฟคาเกือบไร้ความหมาย คาฟคาไม่ได้เขียนอย่างตรงไปตรงมา หรือตั้งใจให้เป็นคำคมสอนใจทำนอง ‘เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า’ หรือกระทั่งเสนอความเข้าใจโลกและชีวิตที่ต่างออกไป
ตรงกันข้าม งานของเขากระตุ้นให้ผู้อ่านสร้างเรื่องต่อจากที่เขาเขียน ท้าทายให้ผู้อ่านสร้างความหมายจากความหมายที่เขาพยายามจะสร้างซึ่งก่อขึ้นมาอย่างครึ่งๆ กลางๆ ผู้อ่านจึงจำเป็นต้องอ่านคาฟคาทำนองเดียวกับที่ศาลฟังพยานให้ปากคำ หรือแพทย์ฟังคนไข้เล่าอาการป่วย กล่าวคือ ทั้งศาล (ที่ถือตราชูอย่างมั่นคง) และหมอ (ที่มิได้มองเงินตราบนใบหน้าผู้ป่วย) จำเป็นต้องประมวลและสังเคราะห์ความเป็นไปของเรื่อง และให้ความหมายด้วยการประกอบสร้างสิ่งที่คาฟคาเสนอเรื่องราวและความหมายเบื้องต้นไว้
...
เนื่องจากชีวประวัติของเขาต่างไปจากของนักเขียนคนอื่นๆ ในแง่ที่ว่า ชีวประวัติของนักเขียนหลายคนอาจไม่เชื่อมโยงกับงานของประพันธ์ของเขาเลยก็ได้ หรือกล่าวให้รัดกุมกว่าก็คือ การรู้ชีวประวัติของผู้เขียนไม่ได้ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจงานเขียนของผู้นั้นดีขึ้น ดังเช่นกรณีของ เจน ออสติน (Jane Austen) ลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) แต่ชีวประวัติของคาฟคาโยงใยกับงานประพันธ์ของเขาอย่างแนบแน่น เรื่องแต่งบางเรื่องเขียนราวกับเป็นงานเขียนบันทึกเหตุการณ์ชีวิตของเขาตรงๆ ก็มี (หรือชวนให้ตีความไปเช่นนั้น) ซ้ำร้าย แม้กระทั่งจดหมาย บันทึกอนุทินของเขา ก็ศึกษากันราวกับเป็นส่วนหนึ่งของงานประพันธ์
..,
บางส่วนบท คาฟคาเขียนให้ใครอ่าน? และใครควรอ่านคาฟคา?
...
อ่านกันแบบเต็มๆ สั่งซื้อคลิก น้ำตาเหือด แล้วเลือดตก : สาธกการเมืองไทยในวรรณกรรมโลก
โดย ไชยันต์ รัชชกูล
============
แนะนำหนังสือของคาฟคาฉบับภาษาไทย
บันทึกปรัชญาขนาดสั้นของฟรันซ์ คาฟคา | The Zürau Aphorisms
============
คลิกสั่งซื้อยก Set ราคาพิเศษ
1. Set 3 หนังสือ รอบกรกฎาคม 2564 | ***มีทั้ง 2 เล่มข้างต้น***
2. Set วรรณกรรมวิจารณ์ ราคาสุดพิเศษ + กระเป๋าผ้า
3. Set 3 เล่ม ไชยันต์ รัชชกูล
4. Set 4 เล่มหนาตาสว่าง
============