รายได้หลักของรัชกาลที่ 4 มาจากไหน | อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

Last updated: 15 พ.ค. 2565  |  1847 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รายได้หลักของรัชกาลที่ 4 มาจากไหน | อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

...ความเปลี่ยนแปลงภายในระบบเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่กำหนดความเปลี่ยนแปลงความคิดเรื่องรัฐและกษัตริย์ของชนชั้นสูง โดยเฉพาะความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านภาษีระหว่าง 'พระมหากษัตริย์' กับ 'ราษฎร' ในรัฐของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความเปลี่ยนแปลงภายในระบบเศรษฐกิจนี้คือ ความเปลี่ยนแปลงในด้านที่มาของรายได้พระมหากษัตริย์

การเปลี่ยนแปลงที่มาของรายได้แผ่นดินได้ปรากฏอย่างชัดเจนขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับตะวันตก เพราะข้อบังคับของสนธิสัญญาระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ให้ไทยยกเลิกการค้าผูกขาด งดการแทรกแซงการค้าและให้ถือว่าเป็นการค้าโดยเสรี เช่น สนธิสัญญาที่ทำกับประเทศฝรั่งเศสระบุว่าชาวฝรั่งเศสมีอิสระเต็มที่ในการนำสินค้าเข้ามายังพระราชอาณาจักรของไทย ได้รับอนุญาตให้ซื้อของโดยตรงจากผู้ผลิต และให้ขายสินค้าของตนโดยตรงให้แก่ผู้ประสงค์จะซื้อสินค้านั้นๆ โดยปราศจากการแทรกแซงของบุคคลอื่นใดทั้งสองกรณี ประกอบกับสินค้าข้าวราคาสูงมากขึ้นเพราะต่างประเทศต้องการ ดังคำประกาศของรัชกาลที่ 4 ความว่า

"ถึงราคาข้าวแพงขึ้นไปก็เพราะคนนอกประเทศเอาเงินทองต่างเมืองมาซื้อหาโปรยหว่านในกรุงนี้มาก"


การลงทุนทำการค้ากับต่างประเทศจึงไม่ทำกำไรให้กับพระองค์ แม้ว่าในช่วงแรกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จะทรงแสวงหารายได้ด้วยการค้าขายตามบรรพบุรุษอยู่ ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า

"ข้าพเจ้าก็เอาเงิน 200 ชั่งนั้นมาทำทุนหากำไรต่อมา ได้ซื้อสินค้าฝากเรือไปขาย"


จากการยกเลิกการผูกขาดสินค้าตามสนธิสัญญาและสินค้าที่พระมหากษัตริย์จะนำไปขายก็มีราคาสูงขึ้น ทำให้เกิดการยกเลิกการค้าโดยสำเภาหลวงไปในที่สุด เพราะว่าไม่ทำกำไรให้แก่พระมหากษัตริย์ได้ดังเดิม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถึงประเด็นนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า

"ในหลวงจะค้าสำเภาในการบัดนี้ไม่มีกำไร เพราะมีคนในประเทศนอกประเทศมีกำปั่นสำเภาค้าขายเสียเป็นอันมาก"


และพระองค์ก็ทรงกล่าวอ้างไว้ในทำนองว่าการที่พระมหากษัตริย์ไทยจะยังทรงทำการค้าอยู่นั้นไม่เหมาะสม เพราะจะไม่เหมือนพระมหากษัตริย์ของชาติใหญ่ๆ ที่ไม่ทำการค้ากันแล้ว มีแต่พระมหากษัตริย์ในประเทศเล็กๆ เท่านั้นที่ยังทำการค้า

..,

บางส่วนจากหัวข้อ 'ความเปลี่ยนแปลงความคิดเรื่องรัฐและกษัตริย์' 
ในเล่ม การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475



โดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
=====

คลิกสั่งซื้อชุดหนังสือประวัติศาสตร์ที๋โรงเรียนไม่ได้สอน พร้อมให้คุณเบิกเนตรและตาสว่าง ในราคาพิเศษ



1. การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475:
ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปรสำนึก จากกษัตริย์ สู่ชนชั้นนำ ถึงปัจเจกชนและสามัญชน
●— อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
450 บาท


2. ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ :
ว่าด้วยการท่องเที่ยว ในฐานะมรดกแห่งการสร้างชาติของรัฐไทย จากรัฐจารีต สงครามเวียดนาม สู่ยุครัฐประหาร 2549 (On Thai Tourism)
●— ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
300 บาท


3. บทสำรวจวาทกรรมชนบทและบ้านนอกในความเป็นไทย : 
รื้อ - สร้าง - ทบทวน สำนึกและมายาคติต่อความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำของชนบทกับเมือง ตั้งแต่ไพร่ ชาวนา คนเสื้อแดง ถึงชนชั้นกลางใหม่ (On Countryside)
●— สามชาย ศรีสันต์ 
300 บาท

4. ความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสยามไทย :  
บทความวิเคราะห์และตีความ ว่าด้วยความคิดของไพร่กระฎุมพีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในระยะก้าวผ่านจากสังคมไทยเดิม มาสู่การเป็นสังคมสมัยใหม่ (On Bourgeoisie)
●— ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ 
450 บาท

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้