เหตุใด '1984' ถึงไม่ถูกห้ามตีพิมพ์ในจีน

Last updated: 8 ก.ค. 2565  |  1762 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เหตุใด '1984' ถึงไม่ถูกห้ามตีพิมพ์ในจีน

หากพูดถึงหนังสือที่ทรงอิทธิพลร่วมทศวรรษที่ว่าด้วยระบอบการปกครองแบบเผด็จการ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่กล่าวถึง หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984) นวนิยายคลาสสิคสร้างชื่อของ จอร์จ ออร์เวลล์ 


 
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984) เป็นนวนิยายที่เขียนเกี่ยวกับโลกอนาคตที่เป็นดั่งฝันร้ายในปี 1984 โดยมีฉากอยู่ที่รัฐที่มีการปกครองแบบเผด็จการ มีรัฐบาลเป็นศูนย์กลางวิถีชีวิตของประชาชนและมักพบโฆษณาชวนเชื่อ การจับตาเฝ้าระวัง การเผยแพร่ข้อมูลเท็จ การปรับแต่งเรื่องราวในอดีตโดยรัฐบาล อยู่ทุกหนแห่ง
 
“พี่เบิ้มกำลังจับตาดูคุณ (Big brother is watching you)” เป็นประโยคดังที่ถูกหยิบยกมาจากในนวนิยายเรื่องนี้ โดยเปรียบรัฐบาลเป็นเหมือนคนในครอบครัว
 
เป็นเวลากว่า 72 ปีที่ผู้อ่านได้เข้าไปเยี่ยมเยือนโลกใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่  ความทรงอิทธิพลและเป็นที่นิยมของผลงานและผู้เขียนนั้นทำให้เกิดคำว่าออร์เวลเลียน (Orwellian) ซึ่งมีรากคำมาจากนามสกุลของ จอร์จ ออร์เวลล์ โดยใช้กล่าวถึงระบอบทางการเมืองที่รัฐบาลพยายามเข้าถึงและควบคุมชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับการปกครองในเรื่อง หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่
 
หนังสือมักร้อยเรียงมากจากประสบการณ์และสะท้อนความจริงของชีวิตมนุษย์ เช่นเดียวกันกับ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ที่นำเสนอความจริงของสังคม แม้จะผ่านมากว่าเจ็ดสิบปี นวนิยายคลาสสิคเล่มเรื่องนี้ยังคงความร่วมสมัย ออร์เวลล์ได้นำเสนอความจริงที่ยังปรากฏชัดเจนในปัจจุบัน
 
ในปัจจุบัน กล่าวกันว่าจีนเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความเป็นออร์เวลเลียนสูง ในช่องพิมพ์คำค้นหาของ Google ปรากฏคำว่า China  พร้อมกับคำว่า Orwellian อยู่เสมอ โดยมักพบสองคำนี้ในเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการควบคุมประชาชน และการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาล
 
แม้ว่าบนโลกอินเทอร์เน็ตชาวจีนในปักกิ่งถูกห้ามไม่ให้พิมพ์คำว่า 1984 แต่น่าแปลกที่นวนิยายร่วมสมัยเล่มนี้ไม่ได้ถูกสั่งห้ามตีพิมพ์แต่อย่างใด อีกทั้งยังได้รับความนิยมจากประชาชนชาวจีนกันอย่างแพร่หลายอีกด้วย
 
คำถามที่เกิดจากความย้อนแย้งของรัฐบาลจีนที่แม้จะห้ามไม่ให้มีคำว่า 1984 ปรากฏในช่องการค้นหาโดยประชาชนของพวกเขาเลย แต่กลับอนุญาตให้ประชาชนหรือแม้กระทั่งผู้มีสถานะในรัฐบาลเองนั้นอ่านนวนิยายเรื่องนี้ได้

คำตอบที่เข้าใจได้ง่ายของคำถามนี้อาจเป็น เพราะรัฐบาลคิดว่าชาวจีนทั่วไปอาจไม่ได้นึกถึงความเชื่อมโยงทางการเมืองที่ออร์เวลล์นำเสนอในเรื่อง หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ กับ ลักษณะทางการเมืองในจีน หรือแม้หากจะมีคนที่ตระหนักถึงความคล้ายคลึงของการเมืองจากทั้งสองที่นี้ แต่รัฐบาลเชื่อว่าคนกลุ่มน้อยที่อ่านนวนิยายเล่มนี้นั้นจะไม่แสดงจุดยืนที่เป็นภัยต่อรัฐบาลมากนัก อีกทั้งรัฐบาลเองจะให้ความสนใจกับนักเขียนชาวจีนมากกว่าผลงานจากนักเขียนชาวต่างชาติ
 
แม้ในวันนี้ยังไม่มีแรงต่อต้านจากประชาชนที่เป็นภัยต่อรัฐบาลจีนมากนัก แต่เนื่องด้วยความมั่นคงที่ไม่มีอยู่จริงและความเป็นออร์เวลล์เลียนของจีนที่เปรียบเหมือน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ในเวอร์ชั่นจีนนั้น ขณะที่นวนิยายเรื่องนี้ออกสู่ท้องตลาดอาจนำความตระหนักรู้ในบางสิ่งมาสู่ผู้อ่านชาวจีนและนำเป็นอีกหนึ่งชนวนให้ชาวจีนกระทำการต่อต้านรัฐบาลของพวกเขา

นวนิยายเล่มนี้อาจนับเป็นอีกบททดสอบของผู้นำและเป็นอีกข้อพิสูจน์ของสารที่ออร์เวลล์พยายามจะสื่อในนวนิยายทรงอิทธิพลเรื่องนี้

ชุดหนังสือ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984) ฉบับครบรอบ 72 ปี | ครบชุดการออกแบบ 4 ปก
คลิกสั่งซื้อ ในราคาพิเศษ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้