Last updated: 21 พ.ค. 2565 | 7082 จำนวนผู้เข้าชม |
ปกนอกสุด
ปกไทยเฉียบ
สนพ.สมมติ ชวนผู้อ่านดูปกวรรณกรรมคลาสสิคฉบับที่ฝรั่งเขาทำกัน พร้อมๆ กับเปรียบเทียบเพื่อสำรวจตรวจสอบการออกแบบในเวอร์ชั่นภาษาไทย
จะนักออกแบบฝรั่งหรือนักออกแบบไทย สิ่งที่พอจะบอกได้อย่างตรงไปตรงมาก็คือ เราขอขอบคุณที่ทำให้ปกหนังสือวรรณกรรมแปลคลาสสิคมีความสวยงาม!
ชอบปกไหน ไปดูกัน!
==================
【+concept design+ ปกชุดวรรณกรรมโลกสมมติ】
คงสีหลักสองสีคือ ดำและส้ม
✅ ปกหน้า ความชัดเจนของชื่อเล่ม โดดเด่นด้วยองค์ประกอบของการจัดวางตัวหนังสือ ให้พื้นที่ว่างและไม่ว่างได้ทำงานอย่างเต็มที่ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบของการออกแบบ
✅ ปกหลัง : ตัวอย่างประโยคต่างๆ จากในเล่มนั้นๆ พร้อมด้วยลักษณะเฉพาะที่สื่อถึงเล่มนั้น โดยใช้ฟ้อนท์และภาพลายเส้นกราฟฟิคเป็นสื่อในการนำเสนอ ปกหลังยังคงถูกจัดการเรื่องพื้นที่ว่างและไม่ว่างให้สอดรับกับปกหน้าอย่างลงตัว
✅ สรุปความของแนวทางการออกแบบปกชุดนี้ ซึ่งถูกพัฒนาต่อจากฉบับพิมพ์ครั้งแรก คือการคุมโทนสีดำและส้มให้สมดุล ดูแล้วไม่รู้สึกว่ามีเฉดสีใดสีหนึ่งที่โดดเด่นกว่า มันคือความสมดุลและตอบโจทย์ตัวบทวรรณกรรมโลกสมมติด้วยตัวมันเอง
ภาพปก 1984
ทุกก้าวของคุณจะถูกจับจ้อง!!! เราจึงออกแบบหน้าปกให้มีวงกลม เป็นสัญลักษณ์ตาแมวประตู เลนส์กล้องที่คอยสอดส่อง ที่บันทึกทุกความเคลื่อนไหวของประชาชนในเรื่อง
.
ชื่อเล่ม 1984 อันโด่งดัง จัดวางเด่นชัดเต็มหน้าปก ราวกับว่าแสดงความอึดอัดและขัดแย้งของตัวละครเอกที่อยู่ในสังคมเผด็จการ
┈ ┉ ┈
✍ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984) ✍
วรรณกรรมโลกสมมติลำดับที่ 2
***เรื่องเล่าของ 'เหยื่อผู้สยบยอม' และ 'ขบถผู้ขัดขืน' ภายใต้การกดขี่ของรัฐทุกตารางนิ้ว***
The 100 Best Novels written in English
-- The Guardian --
===
คลิกสั่งซื้อ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984)
จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) : เขียน
รัศมี เผ่าเหลืองทอง และ อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ : แปล
ธงชัย วินิจจะกูล : บทกล่าวตาม
อิศรา โฉมนิทัศน์ : ภาคผนวก ว่าด้วยหลักการของนิวสปีค
ปฐมพงศ์ น้ำใจดี : ออกแบบปก
==================
ภาพปก ยูโทเปีย (Utopia)
ในเมื่อ 'ยูโทเปีย' คือโลกแห่งอุดมคติ ปกหน้าจึงใช้คอนเซ็ปต์ 'Golden Section' ที่แสดงถึงความสมบูรณ์ไร้ที่ติ
ชื่อเล่มถูกจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมโดยที่ไม่ทำลายรูปแบบ Golden Section
┈ ┉ ┈
✍ ยูโทเปีย (Utopia) ✍
วรรณกรรมโลกสมมติลำดับที่ 1
***นิยายที่เป็นต้นแบบของคำว่า Utopia หรือ 'สังคมอุดมคติ' ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน*
===
คลิกสั่งซื้อ ยูโทเปีย (Utopia)
เซอร์ โธมัส มอร์ (Sir Thomas More) : เขียน
สมบัติ จันทรวงศ์ : แปลและบทกล่าวตาม
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการ
ปฐมพงศ์ น้ำใจดี : ออกแบบปก
==================
ภาพปก The Time Machine
เทคนิคสปอตยูวีให้เกิดลายเส้นรูปนาฬิกา แสดงนัยของ ‘เวลา’ ที่เป็นแกนหลักของเรื่อง
บนเข็มของนาฬิกามีคนนั่งอ่านหนังสือ ย่อมบ่งบอกภาพตัวแทนตัวเอกของเรื่องคือ 'นักท่องเวลา'
┈ ┉ ┈
✍ เดอะ ไทม์ แมชชีน (The Time Machine) ✍
วรรณกรรมโลกสมมติลำดับที่ 4
***เรื่องราวในอนาคตปี ค.ศ.802701 - ยุคที่ไร้สงครามและการต่อสู้ ต้นกำเนิดนิยายที่เกี่ยวกับการเดินทางข้ามเวลา***
Best Sci-Fi and Fantasy Novels of All Time -- The Telegraph --
┈ ┉ ┈
คลิกสั่งซื้อ เดอะ ไทม์ แมชชีน (The Time Machine)
เอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells) : เขียน
ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล : แปล
วิษณุ โชลิตกุล : บทกล่าวตาม
ปฐมพงศ์ น้ำใจดี : ออกแบบปก
==================
ภาพปก The Country of the Blind
หนังสือเล่มเล็ก แต่เนื้อหาทรงพลัง สื่อผ่านความยอกย้อนของ 'ขนาดตัวอักษร' เต็มหน้าปกที่ควรอ่านสะดวก แต่กลับต้องถอยห่างเพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น
ซึ่งความยอกย้อนนี้เข้ากับเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับคนตาบอดเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังแทรก gimmick ตัวอักษรเบลล์เพื่อสร้างชั้นเชิงบนหน้าปกอีกด้วย
┈ ┉ ┈
✍ ดินแดนคนตาบอด (The Country of the Blind) ✍
วรรณกรรมโลกสมมติลำดับที่ 6
***สุดยอดเรื่องเล่าที่นำผู้อ่านท่องไปในหุบเขาที่ทุกคนเป็นคนตาบอด และแม้ว่าคุณจะเป็นคน 'ตาดี' ที่แห่งนี้คุณจะมองไม่เห็นอะไรเลย***
ไม่มีดินแดนแห่งไหนจะดีเลิศเท่ากับดินแดนที่พวกเขาอาศัยอีกแล้ว ใครที่มองโลกแตกต่างจากพวกเขาคือคนบ้า
┈ ┉ ┈
คลิกสั่งซื้อ ดินแดนคนตาบอด (The Country of the Blind)
เอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells) : เขียน
มโนราห์ : แปล
มุกหอม วงษ์เทศ : บทกล่าวตาม
ปฐมพงศ์ น้ำใจดี : ออกแบบปก
==================
ภาพปก Bartleby, the Scrivener
ชื่อเล่มพาดเฉียง เน้นตัวอักษร B ที่เป็นชื่อนำของทั้งชื่อเล่มและชื่อตัวละครหลักในเรื่อง กำกับด้วยโทนสีน้ำเงินเข้มแสดงความลึกล้ำคาดเดาไม่ได้
.
ปกหลังใช้ Key Visual รูปผู้ชายยืนโดดเดี่ยวริมหน้าต่างที่บิดมาจากตัว B หรือ Bartleby ชื่อตัวละครเอกนั่นเอง
┈ ┉ ┈
✍ บาร์เทิลบี (Bartleby, the Scrivener) ✍
วรรณกรรมในวงเล็บลำดับที่ 1
"...บาร์เทิลบีเป็นเรื่องเกี่ยวกับอภิปรัชญาแห่งความขบถ..."
-- The Guardian--
นักเขียนชื่อดังหลายคนได้รับอิทธิพลและยกย่องเมลวิลล์ หนึ่งในนั้นคือ อัลแบร์ กามู (Albert Camus)
┈ ┉ ┈
คลิกสั่งซื้อ บาร์เทิลบี (Bartleby, the Scrivener)
เฮอร์แมน เมลวิลล์ (Herman Melville) : เขียน
พัจนภา เปี่ยมศิลปกุลชร : แปล
ปราบดา หยุ่น : บทกล่าวตาม
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการ
จิรวัฒน์ รอดอิ่ม : ออกแบบปก
==================
ภาพปก Frankenstein
ตัวแทนของปีศาจที่คนทั่วโลกรู้จักในเรื่องแฟรงเกนสไตน์ ก็คือ รอยเย็บบาดแผล! เราจึงเอาแนวคิดนี้มาปรับเปลี่ยน typo ชื่อเล่มให้เป็น รอยเย็บ วางตั้งพาดในขวางบนล่าง
หนักแน่นด้วยโทนสีเทาเข้ม และเพิ่มลูกเล่นบนปกหลังด้วยการสปอตเค้าโครงตัวละครเอก
┈ ┉ ┈
✍ แฟรงเกนสไตน์ หรือ โพรมีธีอัสยุคใหม่ ✍
(Frankenstein; or, The Modern Prometheus)
วรรณกรรมในวงเล็บลำดับที่ 14
"...แฟรงเกนสไตน์คือจุดเริ่มต้นของวรรณกรรมไซไฟในปัจจุบัน -- สตีเฟน คิง (Stephen King) --
"...เปี่ยมไปด้วยความหลอกหลอน ความโศกเศร้า และเป็นงานเขียนโกธิคที่งดงาม -- Independent --
┈ ┉ ┈
คลิกสั่งซื้อ แฟรงเกนสไตน์ หรือ โพรมีธีอัสยุคใหม่
(Frankenstein; or, The Modern Prometheus)
แมรี เชลลีย์ (Mary Shelley) : เขียน
ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล : แปล
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการ
จิรวัฒน์ รอดอิ่ม : ออกแบบปก
==================
ภาพปก The Trembling of a Leaf
โทนสีเขียวบ่งบอกความเป็นเอเชียใต้ ใช้ตัวอักษร T ที่มีลักษณะเหมือนต้นไม้สูงเด่นพาดเฉียงบนหน้าปก
สงครามทางวัฒนธรรมของผู้คนต่างค่านิยมในเรื่อง สื่อผ่าน Key Visual ที่ปกหลัง รูปชายหญิงต่างสี เพิ่มเติมด้วยชื่อเล่มที่อยู่ตรงกลางกำลังสั่นสะเทือน
┈ ┉ ┈
✍ ชั่วใบระริกไหว (The Trembling of a Leaf) ✍
วรรณกรรมในวงเล็บลำดับที่ 15
"นักเขียนร่วมสมัยที่ผมเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อผมมากที่สุดก็คือ ซอเมอร์เซ็ท มอห์ม นั่นเอง เขาเล่าเรื่องได้ตรง มีแต่เนื้อล้วนๆ" จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell)
.
"เขาคือหนึ่งในนักเขียนคนโปรดของผม" กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ (Gabriel Garcia Marquez)
┈ ┉ ┈
คลิกสั่งซื้อ ชั่วใบระริกไหว (The Trembling of a Leaf)
วิลเลียม ซอเมอร์เซ็ท มอห์ม (W. Somerset Maugham) : เขียน
คณิตสรณ์ สัมฤทธิ์เดชขจร : แปล
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการ
จิรวัฒน์ รอดอิ่ม : ออกแบบปก
==========