Last updated: 1 มิ.ย. 2566 | 1753 จำนวนผู้เข้าชม |
การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใน พ.ศ. 2475 เท่าที่ผ่านมานั้นมีอยู่หลายแนวทางด้วยกัน ในหนังสือ "การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475" จะพูดถึงแง่มุมของสำนึกทางประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นพลังทางภูมิปัญญาที่ผลักดันให้ข้าราชการกลุ่มหนึ่งดำเนินการยึดครองอำนาจในการปกครองประเทศ
เรื่องนี้เกี่ยวพันกับการไม่ยอมรับว่าพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ทรงเป็นผู้กำหนดวิถีของประวัติศาสตร์ไทยให้เจริญก้าวหน้าและพระมหากษัตริย์บางพระองค์นอกจากมิได้ทำให้ชาติก้าวหน้าแล้วยังทรงกระทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดผลในทางตรงกันข้ามด้วย
พร้อมกันนั้นก็เกิดความสำนึกว่าสามัญชนมีส่วนหรือมีบทบาทในการกระทำให้ชาติมีเอกราชและเจริญก้าวหน้าเสมอมา ด้วยสำนึกเช่นนี้เองที่ผลักดันให้ข้าราชการกลุ่มหนึ่งดำเนินการยึดอำนาจเพื่อให้ 'ราษฎร' ได้ร่วมกันกำหนดวิถีประวัติศาสตร์
การแสดงออกของคนกลุ่มนี้ คือการแสดงตนถึงความสำนึกทางประวัติศาสตร์ที่ว่าตนเองมีส่วนที่ 'กำหนด' ความเจริญให้แก่ประเทศชาติ ขณะที่ข้าราชการและราษฎรกลุ่มนี้คิดว่าการกระทำของตนเป็นไปเพื่อความเจริญของชาติ แต่พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ซึ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับไม่เห็นด้วยและกล่าวว่าคนที่กระทำเช่นนั้นเป็นคนเห็นแก่ตัว
การแก้ปัญหาจึงเป็นการดำเนินการด้วยวิธีการต่างๆ หลายประการเพื่อสลายสำนึกเชิงปัจเจกของข้าราชการและราษฎร และยังพยายามเร้าสำนึกที่ว่าพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ทรงมีศักยภาพและสามารถทำให้ประเทศก้าวหน้า ทั้งยังทำให้ผู้คนยอมรับว่าพระองค์เองก็ได้กระทำให้เกิดความก้าวหน้ามามากและจะทำให้ได้มากขึ้นอีกในอนาคต เนื่องจากโดนปฏิเสธแนวคิดนี้ กลุ่มข้าราชการและราษฎรจากเดิมที่เน้นการเสนอแนะหาหนทางแก้ไขปัญหา จึงเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในการแสดงความคิดเห็นมาสู่การเรียกร้องและแสดงศักยภาพของตนเองให้ได้เห็นชัดเจนว่าสามารถนำพาประเทศก้าวหน้าได้ดีกว่า
เนื่องด้วยจุดเปลี่ยนนี้จึงทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ขึ้น รวมถึงจุดกำเนิดชื่อของ 'คณะราษฎร' ที่มีความหมายอย่างมาก เพราะเป็นการประกาศถึงความสำนึกของการรวมกลุ่มว่า 'ราษฎร' เป็นผู้ที่มีศักยภาพที่จะกำหนดวิถีแห่งประวัติศาสตร์ ดังที่ปรากฏในคำแถลงการณ์ของคนกลุ่มนี้ที่ประกาศแก่สาธารณะในวันยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์แห่งรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์
"ประเทศเรานี้เป็นของราษฎรไม่ใช่เป็นของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง
บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิศรภาพพ้นมือข้าศึก
พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิปและกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน...."
..,
บางส่วนจากในเล่ม การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475
โดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
=====
คลิกสั่งซื้อชุดหนังสือประวัติศาสตร์ที๋โรงเรียนไม่ได้สอน พร้อมให้คุณเบิกเนตรและตาสว่าง ในราคาพิเศษ
1. การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475:
ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปรสำนึก จากกษัตริย์ สู่ชนชั้นนำ ถึงปัจเจกชนและสามัญชน
●— อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
450 บาท
2. ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ :
ว่าด้วยการท่องเที่ยว ในฐานะมรดกแห่งการสร้างชาติของรัฐไทย จากรัฐจารีต สงครามเวียดนาม สู่ยุครัฐประหาร 2549 (On Thai Tourism)
●— ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
300 บาท
3. บทสำรวจวาทกรรมชนบทและบ้านนอกในความเป็นไทย :
รื้อ - สร้าง - ทบทวน สำนึกและมายาคติต่อความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำของชนบทกับเมือง ตั้งแต่ไพร่ ชาวนา คนเสื้อแดง ถึงชนชั้นกลางใหม่ (On Countryside)
●— สามชาย ศรีสันต์
300 บาท
4. ความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสยามไทย :
บทความวิเคราะห์และตีความ ว่าด้วยความคิดของไพร่กระฎุมพีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในระยะก้าวผ่านจากสังคมไทยเดิม มาสู่การเป็นสังคมสมัยใหม่ (On Bourgeoisie)
●— ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
450 บาท
11 ม.ค. 2564
17 ต.ค. 2563
26 ธ.ค. 2565