น้ำตาเหือด แล้วเลือดตก - ไชยันต์ รัชชกูล

คุณสมบัติสินค้า:

สาธกการเมืองไทยในวรรณกรรมโลก

Share

น้ำตาเหือด แล้วเลือดตก : สาธกการเมืองไทยในวรรณกรรมโลก
โดย ไชยันต์ รัชชกูล

รวมบทความว่าด้วยวรรณกรรมที่สะท้อนถึงสังคมการเมือง รับรองในความดุ•เด็ด•เข้ม•ข้น

...กฎหมายกำหนดบทลงโทษได้ แต่การกำหนดให้รักอย่างไม่มีเงื่อนไข อยู่นอกมณฑลของกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลไม่สามารถพิพากษาลงโทษผู้ไม่รักกษัตริย์ จึงต้องมี 'ตัวช่วย' ซึ่งอาจมีตั้งแต่พวกใช้น้ำลายเป็นน้ำหมึก พวกแต่งเครื่องแบบเทศน์เป็นอาชีพ ไปจนถึงพวกเฮละโลและพวกม็อบ... [บางส่วนจาก บท 7 -- ไยเรียกร้องรัก จึ่งเหี้ยมหักหาญ]

●— แสบสันต์
●— มีชั้นเชิง
●— โคตรแห่งการแซะ
●— ไม่กลัวหน้าอินทร์หน้าพรหม
●— อ่านไปแล้วต้องร้อง 'อห'

หนังสือรวมบทความวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมของนักเขียนระดับโลก สรุป/ตีความ/เปรียบเทียบแต่ละเรื่องและนำมาเชื่อมโยงกับมิติของ 'สังคมการเมืองไทย'

ท่องไปในโลกวรรณกรรมจากท้องพระโรงรัสเซีย ข้ามไปเลาะรั้ววังแถบยุโรปอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส บินกลับมาดูการเสียเลือดเสียเนื้อของประชาชนในสาธารณรัฐเกาหลี ไปดูการเหยียดหยามมนุษย์ในแดนอินเดีย ย้อนอดีตกลับไปชมฉากการฆ่า 'จูเลียส ซีซาร์' ที่สาธารณรัฐโรมัน สุดท้ายจบลงด้วยการอ่านบทวิเคราะห์นักเขียนอมตะอย่าง ฟรันซ์ คาฟคา (Franz Kafka) และอิ่มเอมไปกับการอ่านเรื่องสั้น(มาก) ของคาฟคาอีกสองเรื่องเต็มๆ ทั้งหมดนี้ครอบคลุมหลักใหญ่ใจความของการเมืองไทย  // ไพร่ • ชาติ • อำนาจ • ชนชั้นนำ //

ผู้เขียนได้บันทึกข้อความถึงผู้อ่านใน 'คำนำ' ว่า

"การศึกษาวรรณกรรมเอื้อให้เราออกจากกรอบที่เป็นกรงของความสิ้นสงสัยในการมองโลก มองชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการมองตัวเอง มองการเมือง มองเพื่อนมนุษย์ ฯลฯ เพื่อพ้นไปจากความคุ้นชินที่ให้ความหมายและคำตอบอันจำเจจนเป็น 'อุปนิสัยของความคิดจิตใจ' "


ขณะที่บรรณาธิการ - ไอดา อรุณวงศ์ กล่าวไว้ในคำนำว่า

"งานเขียนชุด น้ำตาเหือด แล้วเลือดตก ล้วนตีพิมพ์อยู่ในวารสาร อ่าน ในทศวรรษ 2550 ในท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองที่มิใช่เป็นเพียงสงครามระหว่างสีดังที่มักเรียกกัน หากยังเป็นสมรภูมิโรมรันระหว่างฝ่าย 'ซาบซึ้ง' น้ำตาไหล กับฝ่ายที่น้ำตาเหือดแล้วเลือดไหล...อุบายของงานเขียนแนวนี้อยู่ที่การเล่นกับความเป็นสาธกวิจารณ์...

"มันคงไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรอกกระมังที่ว่าบทความปริทัศน์ชุดนี้จะวนเวียนอยู่ที่ซาร์แห่งรัสเซียไปเสียสอง กษัตริย์อังกฤษหนึ่ง ราชินีฝรั่งเศสหนึ่ง สาธารณรัฐโรมันหนึ่ง กับอีกหนึ่งดินแดนแห่งความเหลื่อมล้ำอย่างอินเดีย และหนึ่งสาธารณรัฐเกาหลีที่ถือการเสียสละชีวิตเพื่อประชาธิปไตยเป็นเกียรติภูมิของชาติ หาใช่ราชพลี"


===

บางส่วนจาก บท 3
(สำเหนียกให้จงดี) แผ่นดินนี้ใครครอง

. . ,

การสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่ต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุคนและอาศัยพลังมหาศาล ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มคนในราชวงศ์ แต่ต้องรวมผู้คนทั้งแผ่นดินตั้งแต่คนปลูกข้าวสาลี ผู้หญิงทำขนมปัง ผู้ชายคนงานก่อสร้างทหารที่ต้องตายไปอย่างไร้ค่าจากการตัดสินใจโง่ๆ ของนายพลตาขาว...รวมถึงเด็กที่ต้องเสียสละด้วยการขาดสารอาหาร...มันจะมิเป็นการโอ้อวดกันไปหน่อยหรือที่จะป่าวประกาศไปว่าบทบาทในการสร้างชาติของผู้หนึ่งผู้ใดควรได้รับการเทิดทูนอยู่เหนือศีรษะประชากรทั้งปวง
===

บางส่วนจากบท บท 6
โกโกล: ผู้ชวนให้ขำกับความขมของชีวิต

. . ,
ระบอบที่รวบอำนาจสูงสุดอยู่ที่พระเจ้าซาร์พระองค์เดียวกับระบบเศรษฐกิจสังคมที่สามัญชนต้องเป็นแรงงานมีพันธะจองจำอยู่กับที่ดิน เป็นเหตุให้ชาวรัสเซียกลายเป็นคนหงอกลัว สยบยอมต่ออำนาจที่กดหัว เชื่อฟังคำสั่งโดยไม่ใช้วิจารณญาณ บูชาพระเจ้าซาร์ราวกับเป็นเทพและเชื่อว่าพระองค์ประทานความผาสุกร่มเย็นมาให้
============================

ทดลองอ่าน
1. คำนำหนังสือ 'น้ำตาเหือด แล้วเลือดตก' โดย ไอดา อรุณวงศ์
2. วรรณกรรม และ ชีวิต-การเมือง-ประวัติศาสตร์ 
3. คาฟคาเขียนให้ใครอ่าน? 
4. เป็นชาติ หรือ เป็นทาส
5. ราชินีคัทริน 'สตรีสูงศักดิ์' หรือ 'ราชินีของปีศาจ'
============================

น้ำตาเหือด แล้วเลือดตก : สาธกการเมืองไทยในวรรณกรรมโลก

ไพร่ • ชาติ • อำนาจ • ชนชั้นนำ
COMMONER . NATION . POWER . ELITE


ไชยันต์ รัชชกูล : เขียน
ไอดา อรุณวงศ์ : บรรณาธิการ
DESIGN | ● สมมติ STUDIO ● | จิรวัฒน์ รอดอิ่ม

ฉบับพิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2564
ความหนา : 400 หน้า
ราคาปก 450 บาท
ISBN 978-616-562-022-2


- สารบัญ -

คำนำ โดย ไอดา อรุณวงศ์

คำนำผู้เขียน โดย ไชยันต์ รัชชกูล


1. สร้อยเศร้าถึงพระเจ้าซาร์
[Nicholas II: The Last of the Tsars ของ มาร์ค แฟร์โร (Marc Ferro)]

2. เสือเผือก: ไม่ฆ่านาย ไม่หายจน
[The White Tiger ของ อราวินทร์ อดิกา (Aravind Adiga)]

3. (สำเหนียกให้จงดี) แผ่นดินนี้ใครครอง
[Catherine de Medici ของ ออนอเร่ เดอ บัลซัค (Honoré de Balzac)]

4. ขอตราชูตราช้างยั้งยืนยง ขอ 'ราชประสงค์' เป็นธงชัย มุสายศอยู่คู่ไทย เชิดชัย ชโย
[Julius Caesar ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ (William Shakespeare)]

5. ไม้ซีกฤๅจะงัดไม้ซุง
[เหตุการณ์ฆ่าหมู่ในเมืองกวางจู (Gwanju Uprising)]

6. โกโกล: ผู้ชวนให้ขำกับความขมของชีวิต
[Dead Souls และ เสื้อโค้ต (The Overcoat) ของ นิโคไล โกโกล (Nikolai Gogol)]

7. ไยเรียกร้องรัก จึ่งเหี้ยมหักหาญ: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเลียร์ (King Lear)
[King Lear ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ (William Shakespeare)]

8. ไกลจากความอึงอล
[Far from the Madding Crowd ของ โธมัส ฮาร์ดี้ (Thomas Hardy)]

9. คาฟคาเขียนให้ใครอ่าน? และใครควรอ่านคาฟคา?
[โดยรวมกล่าวถึงตัวของ ฟรานซ์ คาฟคา (Franz Kafka) และงานเขียนหลากหลาย]
==========

ชุดหนังสือแนะนำ

1. Set วรรณกรรมวิจารณ์
ซื้อพร้อมกระเป๋าผ้าได้ลดพิเศษ หรือเลือกเฉพาะหนังสือก็ได้เช่นกัน

2. Set เล่มหนาตาสว่าง

3. Set 3 เล่ม ไชยันต์ รัชชกูล

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้